ภาพ: เพชรลัดดา แก้วจีน
สำหรับผู้สนใจเนื้อหาในหนังสือ “สอนเปลี่ยนชีวิต” และตั้งใจอยากนำแนวคิดพลิกห้องเรียนไปใช้ประโยชน์จริง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี bookscape เตรียมโพสต์นี้เอาไว้ให้คุณโดยเฉพาะ
ขั้นแรก อาจลองเริ่มจากบทความและเรียนรู้ด้วยภาพในแต่ละชุดความคิดควบคู่กันไป ซึ่งจะมีกิจกรรมและเครื่องมือแนะนำที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในห้องเรียนจริง หรือถ้าคุณเป็นผู้ปกครองก็นำกิจกรรมง่ายๆ เหล่านี้ไปใช้กับเด็กๆ ที่บ้านได้เลย
หากคุณอยากได้แรงบันดาลใจและความหวังต่อการศึกษาไทย เราขอแนะนำให้อ่านบทสัมภาษณ์ทั้ง 6 ชิ้นจากมุมผู้เชี่ยวชาญและนักการศึกษาหลากหลายระดับที่จะช่วยให้คุณเห็นมิติ ปัญหา และแน่นอน พวกเขาร่วมกันเสนอทางออก และยืนยันว่า การศึกษาไทยยังมีหวัง หากเรายังคงส่งเสียง ร่วมพูดคุย และขยับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและหาทางแก้กันอย่างไม่หยุดยั้งเช่นที่ผ่านมา
ปิดท้ายด้วยสรุปความและสกัดแก่นสาระจากกิจกรรมเวิร์กช็อปและวงคุยต่อยอดจากหนังสือ “สอนเปลี่ยนชีวิต” แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองจากครูและผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาทั่วประเทศ อ่านจบแล้วคุณอาจได้แรงบันดาลใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าจะนำชุดความคิดทั้งเจ็ดไปปรับใช้ในห้องเรียนอย่างไร
หากคุณเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการปรับมุมมอง ทำความเข้าใจว่าลูกเราพัฒนาและเติบโตได้เสมอ และเราเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบ่มเพาะความคิดบวกและ growth mindset ให้เขาได้ นับเป็นทางออกที่น่าสนใจไม่น้อย

ซีรีส์บทความ: สรุป 7 ชุดความคิดพลิกห้องเรียน
หากคุณไม่อยากให้นักเรียนลาออกกลางคัน จงสานสัมพันธ์อันดีไว้!
ในแต่ละวัน ลองถามตัวเองด้วยคำถามสำคัญว่า ครูที่สานความสัมพันธ์อันดีกับนักเรียนได้ เขาทำอย่างไรกัน? เราจะเชื่อมความสัมพันธ์กับนักเรียนอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้เด็กๆ มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง? และเราจะทำให้นักเรียนไว้วางใจ รู้สึกได้รับความเคารพ และเป็นส่วนหนึ่งได้อย่างไร?
ทุกสิ่งที่คุณจะทำล้วนต้องเริ่มด้วยการสานสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งสิ้น! ก่อนจะพลิกชีวิตใครสักคน หรือมุ่งสู่ความสำเร็จไปพร้อมๆ กับเด็กทุกคน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักชุดความคิดสานสัมพันธ์
“เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยอดทนกันเลย” อาจเป็นคำบ่นจากครูหลายๆ คน อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงคือเด็กที่ไม่อดทนทุ่มเทและดูเหมือนขี้เกียจในวิชาของครูบางคน มักจะตั้งใจและขยันเรียนในวิชาของครูอีกคน ข้อมูลนี้แสดงว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปต่อครูแต่ละคน นั่นเป็นเพราะวิธีสอนที่ทำให้ผลลัพธ์แตกต่างกัน และชุดความคิดแห่งความสำเร็จเป็นตัวแปรสำคัญ
ชุดความคิดแห่งความสำเร็จเป็นอาวุธต่อกรกับสภาวะท้อแท้ของนักเรียน โดยเกิดจากส่วนผสมอันลงตัวตามหลักคิดของชุดความคิดแบบเติบโต (growth mindset) โดยแครอล ดเวก ชุดความคิดแห่งแรงผลักดัน โดยแดเนียล พิงก์ และชุดความคิดแห่งความมุ่งมั่น โดยแองเจลา ดักเวิร์ธ และพอล ทัฟ รวมถึงแนวคิดของผู้เขียนเองด้วย และเมื่อนำแต่ละหลักคิดมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกลวิธีการสอนประสิทธิภาพสูงก็แทบจะการันตีความสำเร็จได้เลย
คุณคงเคยได้ยินความเห็นของครูคนอื่นๆ อยู่บ้างว่า นักเรียนจากครอบครัวยากจนนั้นสอนยากและมักมีปัญหาด้านพฤติกรรม นักเรียนหลายคนเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยปัจจัยกระตุ้นความเครียด และสภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง
เมื่อต้องสอนนักเรียนฐานะยากจน จำเป็นมากที่ต้องเข้าใจว่าปัจจัยอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและกัดกร่อนความหวังที่นักเรียนมีต่ออนาคตของตนเองได้ คุณลักษณะจำเป็นที่สุดที่ควรพัฒนาคือความเข้าใจ ไม่ใช่ความสงสาร และชุดความคิดเชิงบวกจะส่งเสริมผลลัพธ์จากความเข้าอกเข้าใจ
การบ่มเพาะชุดความคิดเชิงบวกให้กับตัวเองและนักเรียนนั้นส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง และบรรยากาศในชั้นเรียนก็จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กทุกคนได้จริง
4. ชุดความคิดแห่งบรรยากาศการเรียนแบบบริบูรณ์
ในชั้นเรียนที่มีบรรยากาศการเรียนแบบบริบูรณ์ นักเรียนจะรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยที่จะทดลองสิ่งท้าทายด้านวิชาการและพฤติกรรม ทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจและเป็นปากเป็นเสียงให้กับนักเรียนในบรรยากาศที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน บรรยากาศที่ประกอบไปด้วยพลังงาน การมีส่วนร่วม ให้กำลังใจ เคารพซึ่งกันและกัน การลงมือทำ รับฟัง แบ่งปัน ให้คำแนะนำ และมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ ซึ่งท้ายที่สุดจะกระตุ้นให้เกิดการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง ความบริบูรณ์ที่คุณส่งต่อให้กับนักเรียนต้องให้ความรู้สึกของคุณภาพชีวิตที่ดี
เป้าหมายในฐานะครูคือส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในชั้นเรียนที่กระตุ้นให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนตรงเวลา เตรียมตัวก่อนมาเรียน และพร้อมจะฝึกทักษะการควบคุมตนเอง ความอดทน และการสานสัมพันธ์ในห้องเรียน แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากคุณต้องการบรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือนักเรียนยากจน คุณจำเป็นต้องทำอย่างสุดความสามารถทุกๆ วัน
5. ชุดความคิดส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน
ชุดความคิดการส่งเสริมศักยภาพปฏิเสธคำพูดทำนองว่า “เขาพยายามอย่างหนัก แต่อนิจจา มันไม่มีทางเป็นไปได้หรอก” และต่อยอดชุดความคิดแบบเติบโตขึ้นไปอีก
การรับเอาชุดความคิดนี้มาใช้จะเปลี่ยนการตัดสินใจของคุณไป ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณตามไปด้วย พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำในระยะเวลาหนึ่งจะกลายเป็นนิสัย และนิสัยจะกลายเป็นบุคลิกของคุณในที่สุด
ชุดความคิดส่งเสริมศักยภาพมีความสำคัญยิ่ง กล่าวสั้นๆ คือ บ่อยครั้งชุดความคิดและความเชื่อที่เราบอกตัวเองว่าทำไมเราจึงล้มเหลวนี่เองที่ปั้นแต่งอนาคตของเรา เราทุกคนต่างล้มเหลว ณ จุดใดจุดหนึ่ง คำถามที่ต้องถามตัวคุณเองคือ
“ฉันจะตอบสนองต่อความล้มเหลวอย่างไร ทั้งโดยส่วนตัวและในฐานะครู ฉันจะเรียนรู้และเติบโตขึ้นจากความผิดพลาด ความผิดพลาดคือผลสะท้อนที่ช่วยให้ฉันเก่งขึ้น”
จำไว้ว่า ชุดความคิดส่งเสริมศักยภาพขยายชุดความคิดแบบเติบโตให้กว้างขึ้น
เมื่อปลูกฝังบรรยากาศการเรียนแบบบริบูรณ์และส่งเสริมศักยภาพให้กับนักเรียนแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาคิดหาวิธีว่าจะดึงนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ได้อย่างไร
การมีส่วนร่วมมีความหมายแตกต่างกันไปในแต่ละคน ผู้อยู่ในแวดวงวิชาการมักคิดถึงการมีส่วนร่วมด้านการรู้คิดโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี การมีส่วนร่วมที่มีประโยชน์เกิดขึ้นในหลายระดับ ตัวอย่างเช่น ทำให้นักเรียนอยู่ในภาวะทางอารมณ์ที่มีคุณภาพและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญ
เราจะพาคุณไปรู้จักการมีส่วนร่วมในหลายระดับและกลยุทธ์ที่ใช้ได้ทันที ครูที่ใช้การมีส่วนร่วมระดับสูงซึ่งสอนด้วยปฏิสัมพันธ์ที่สร้างความมั่นใจอยู่ตลอดเวลาและการแก้ไขความผิดพลาดอย่างเข้าอกเข้าใจมักมีนักเรียนที่มีผลการเรียนดี กล่าวสั้นๆ ชุดความคิดนี้คือการต่อยอดจากกลยุทธ์สำหรับชุดความคิดส่งเสริมศักยภาพนั่นเอง
7. ชุดความคิดการสำเร็จการศึกษา
ชุดความคิดการสำเร็จการศึกษาอาศัยการกำหนดเป้าหมายอันกล้าหาญและแน่วแน่เพื่อช่วยให้นักเรียนทุกคนมีความพร้อมที่จะเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยและประกอบอาชีพ
เมื่อรับเอาชุดความคิดนี้มาใช้ คุณก็พร้อมจะทำงานซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จเช่นเดียวกับในโรงเรียนที่มีผลการเรียนสูงอื่นๆ จำนวนมากมาย นี่คือชุดความคิดที่กล่าวว่า “ที่โรงเรียนของเรา ครูทุกคนทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จ ความจริงแล้ว ฉันกล้าพูดได้เลยว่า ‘เราจะไม่ปล่อยให้พวกเขาล้มเหลวเป็นอันขาด’”
ซีรีส์อินโฟกราฟิก: เรียนรู้ด้วยภาพ
ความสัมพันธ์อันดีช่วยลดอัต
หากสรุปง่ายๆ คงต้องบอกว่าชุดความคิดแห่งความสำเร็จสอนกันได้!
เมื่อใดที่เชื่อว่าคนเรามีทางเลือก เมื่อนั้นคุณย่อมตระหนักว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนชุดความคิดทั้งของตัวเองและของนักเรียนแต่ละคน สร้างเสริมความเพียรพยายาม ผลักดันทุกคนสู่เป้าหมายที่วางไว้ และก้าวสู่ความสำเร็จได้
การสนับสนุนเชิงบวกมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการกระตุ้นเชิงลบ เราจะพบว่า นักเรียนเข้าเรียนสม่ำเสมอและป่วยน้อยลง ทั้งจะพยายามมากขึ้นและบรรลุเป้าหมายในการเรียนได้บ่อยครั้งกว่าเดิม วงจรนี้ยังส่งพลังด้านบวกและความหวังกลับคืนสู่ครู ผู้ที่จะมั่นใจและพึงพอใจยิ่งขึ้น
4. ชุดความคิดแห่งบรรยากาศการเรียนแบบบริบูรณ์
เมื่อรักษาพลังงานในห้องเรียนให้เป็นไปในเชิงบวกอยู่เสมอ คุณก็ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมที่ดีขึ้น และเมื่อคุณสร้างบรรยากาศที่ดีเยี่ยมสำหรับการเรียนรู้ได้สำเร็จ คุณก็สามารถดึงศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ
5. ชุดความคิดส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน
คุณวัดความแข็งแกร่งของชุดความคิดส่งเสริมศักยภาพไม่เพียงในสิ่งที่พูดกับนักเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่สอนพวกเขาด้วย เมื่อพูดว่า “ฉันยังเสริมสร้างศักยภาพด้านใดได้อีก” ก็ได้เวลาคิดหาเป้าหมายสูงขึ้นที่นักเรียนจะต้องทำให้สำเร็จในเทอมนี้กันแล้ว
กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมนั้นเรียบง่ายทว่าทรงพลังอย่างยิ่ง เมื่อผนวกเข้ากับการเรียนการสอนได้ดีเยี่ยมจนแยกไม่ออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนจะตื่นตัวพร้อมเรียนเสมอ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้เปี่ยมประสิทธิภาพ ทั้งยังสร้างชุมชนในห้องเรียนอันแข็งแกร่งขึ้นมา
7. ชุดความคิดการสำเร็จการศึกษา
ชุดความคิดการสำเร็จการศึกษากำหนดเป้าหมายอันกล้าหาญแน่วแน่เพื่อช่วยให้นักเรียนทุกคนค้นพบตัวเอง วางแผน และพร้อมเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยหรือเลือกเส้นทางประกอบอาชีพ
คุณคือความหวังของนักเรียน หากไม่มีคุณ นักเรียนจำนวนมากย่อมไปไม่ถึงฝั่งฝัน นักเรียนต้องการคุณคนที่ทำงานเต็มความสามารถ ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แค่ทำดีที่สุดทุกๆ วัน และผลตอบแทนคือการที่นักเรียนค้นพบตัวเองและสำเร็จการศึกษาได้สมความตั้งใจ
ซีรีส์บทสัมภาษณ์: ‘สู้ความเหลื่อมล้ำด้วยพลังแห่งการสอน’

‘วิจารณ์ พานิช’ เพิ่มพลังครู พลิกห้องเรียน เพื่อเด็กทุกคน

‘อนุชาติ พวงสำลี’ เชื่อในตัวครู สู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

‘กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ’ เปิดพื้นที่เติบโตเพื่อครูและเด็กทุกคน

‘ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค’ ปลูกฝัง Growth Mindset เพื่อความสำเร็จของเด็กทุกคน

‘ศุภวัจน์ พรมตัน’ ครูผู้พลิกห้องเรียน ด้วยการรับฟังและความเข้าใจ

‘สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์’ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คำตอบห้องเรียนไทยในศตวรรษที่ 21?
สรุปกิจกรรม “สอนเปลี่ยนชีวิต: 7 ชุดความคิดพลิกห้องเรียนเพื่อเด็กทุกคน”
สรุปความ Workshop “สอนเปลี่ยนชีวิต: 7 ชุดความคิดพลิกห้องเรียนเพื่อเด็กทุกคน”
สรุปความ Book Community คุยต่อ-คิดต่อจาก “สอนเปลี่ยนชีวิต” สู่ห้องเรียนจริงเพื่อเด็กทุกคน