
ภาพ: เพชรลัดดา แก้วจีน
หากสรุปง่ายๆ คงต้องบอกว่าชุดความคิดแห่งความสำเร็จสอนกันได้!
ขอแนะนำให้คุณรู้จักชุดความคิดที่จะช่วยปลุกไฟในตัวเด็กๆ ให้เพียรพยายาม และมุ่งสู่เป้าหมายได้อย่างมั่นคง โดยมีครู พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่อย่างเราคอยสนับสนุนอยู่ไม่ไกล
นักเรียนยากจนสามารถเรียนรู้และรักการเรียนได้ หากคุณใช้เครื่องมือและวิธีการสอนที่เหมาะสม มีงานวิจัยยืนยันว่า “สมองของนักเรียนพัฒนาทักษะการรู้คิดได้ตลอดเวลา ดังนั้น ความฉลาดจึงยกระดับได้เสมอ”
ครูช่วยเหลือให้นักเรียนแต่ละคนสร้างแรงผลักดัน ความพยายาม และความมุ่งมั่น เริ่มต้นจากชุดความคิดที่เด็กทุกคนต้องการและสามารถเรียนรู้ได้ โดยปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้ นี่คือก้าวแรกสู่ความสำเร็จที่เป็นไปได้จริง
มายาคติ
“พ่อแม่มีหน้าที่กระตุ้นลูกๆ ให้มีความมุ่งมั่น ไม่ใช่หน้าที่ครูสักหน่อย”
แนวคิดหลักของชุดความคิดแห่งความสำเร็จ
“ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนพยายาม กระตือรือร้น และมีทัศนคติที่ดีต่อความสำเร็จ เพราะทั้งหมดนี้เป็นทักษะที่สอนกันได้”
ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อความสำเร็จ
- ตั้งเป้าหมายสุดท้าทาย
>> ตั้งเป้าหมายแบบ SMART ฉบับปรับใหม่
S มีกลยุทธ์และเจาะจง (Strategic and specific)
M วัดและประเมินผลได้ (Measurable)
A เหนือความคาดหมาย (Amazing) ไม่ใช่แค่มี โอกาสสำเร็จได้ (Attainable)
R มีความเกี่ยวโยง (Relevant) ไม่ใช่เน้นเฉพาะ ผลลัพธ์ (Results Oriented)
T มีกรอบเวลาชัดเจน (Time bound)
>> 3 เคล็ดลับการตั้งเป้าหมาย
- ควรเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่า เกี่ยวโยงกับทั้งชีวิตส่วนตัวและวัฒนธรรม
- ต้องสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่พอ จุดนี้ครูมีบทบาทสร้างความเชื่อมั่นได้ดี
- จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายย่อย เพื่อให้เห็นพัฒนาการที่ชัดเจนระหว่างทางสู่เป้าหมาย
- ให้ผลสะท้อนที่เป็นประโยชน์
>> กลยุทธ์ SEA สำหรับผลสะท้อนเชิงคุณภาพ
S กลยุทธ์ “ครูชอบที่เราทดลองใช้ กลยุทธ์ ที่หลากหลายจนแก้ปัญหานั้นได้”
E ความพยายาม “ดีมากที่ไม่ยอมแพ้ ความพยายาม ของเธอจะช่วยให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้แน่นอน”
A ทัศนคติ “ก่อนลงมือทำ เธอคิดไว้ว่าต้องทำสำเร็จแน่นอนใช่ไหม ทัศนคติ เชิงบวกแบบนี้แหละที่ช่วยให้ผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้”
>> กลยุทธ์ 3M สำหรับผลสะท้อนเชิงปริมาณ
Milestone หมุดหมาย
Mission ภารกิจ
Method วิธีการ
ช่วยตอบคำถาม 3 ข้อเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการเรียน ได้แก่ (1) ตอนนี้ฉันอยู่ระดับใด (2) จุดหมายฉันอยู่ที่ใด และ (3) ฉันจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร
- ยึดถือความเพียรพยายาม
>> 5 วิธีสร้างความเพียร
- กระตุ้นให้เห็นคุณค่าของเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีและตัวอย่างหลากหลาย เช่น โปสเตอร์ เรื่องเล่า
- แสดงให้เห็นว่าความเพียรพยายามเป็นอย่างไร ฉายภาพยนตร์ เช่น Forrest Gump, Bend It Like Beckham และ Remember the Titans ก่อนฉาย ยกประเด็นเรื่องความเพียรและให้แลกเปลี่ยนความเห็น
- สร้างสภาวะที่เอื้อต่อความเพียร คุณค่าของความเพียรจะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่ออัตราส่วนระหว่างบรรยากาศเชิงบวกต่อเชิงลบอยู่ที่ 3 ต่อ 1
- ทำให้ความเพียรมองเห็นเป็นรูปธรรม ใช้คำเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย ให้นักเรียนเข้าใจและเห็นภาพชัดขึ้น
- ลงมือเสริมความเพียร เชื่อมั่นในความสามารถของนักเรียน และให้กำลังใจว่าทุกคนล้วนต้องผ่านช่วงเวลายากลำบากเพื่อเป้าหมายระยะยาวด้วยกันทั้งนั้น
เมื่อใดที่เชื่อว่าคนเรามีทางเลือก เมื่อนั้นคุณย่อมตระหนักว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนชุดความคิดทั้งของตัวเองและของนักเรียนแต่ละคน สร้างเสริมความเพียรพยายาม ผลักดันทุกคนสู่เป้าหมายที่วางไว้ และก้าวสู่ความสำเร็จได้
อ่านสรุปความพร้อมงานวิจัยอ้างอิงและตัวอย่างกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่นี่
สอนเปลี่ยนชีวิต: 7 ชุดความคิดพลิกห้องเรียนเพื่อเด็กทุกคน
Eric Jensen เขียน
ฐานันดร วงศ์กิตติธร, ลลิตา ผลผลา แปล
448 หน้า
อ่านตัวอย่างหนังสือและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่