เรียนรู้ด้วยภาพ: 6. ชุดความคิดแบบมีส่วนร่วม

 

ภาพ: เพชรลัดดา แก้วจีน

 

การเรียนรู้ควรกระตุ้นความใคร่รู้ของนักเรียน สร้างแรงบันดาลใจ และครูควรเคียงข้างพวกเขาผ่านอารมณ์อันปรวนแปรไปสู่สิ่งที่มีความหมาย นอกจากนี้ การเรียนรู้ยังต้องดึงนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างคุ้มค่า หากคุณไม่ดึงนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ความสำเร็จจะลดลง

ชุดความคิดแบบมีส่วนร่วมมีหลักคิดว่า “ฉันสามารถดึงนักเรียนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีเป้าหมายทุกวัน ทุกเก้านาทีหรือเร็วกว่านั้นได้อย่างแน่นอน”

 

 

การมีส่วนร่วมคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จ ยิ่งแต่ละวันมีช่วงเวลาคุณภาพในการเรียนรู้มากเท่าไร นักเรียนก็จะยิ่งมีเวลาในชั้นเรียนที่มีผลิตภาพและระดับความสำเร็จสูงขึ้นเท่านั้น

 

 

มายาคติ

“เรามีเนื้อหามากมายต้องสอน และปกติแล้วการบรรยายคือวิธีสอนที่ดีที่สุด นอกจากนี้กลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมก็เป็นเรื่องไร้สาระทั้งนั้น”

 

แนวคิดหลักของแนวคิดแบบมีส่วนร่วม

“ฉันสามารถดึงนักเรียนทุกคนให้มีส่วนร่วมอย่างมีเป้าหมายทุกวัน ทุกเก้านาทีหรือเร็วกว่านั้นได้อย่างแน่นอน”

 

 

ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม

  • สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อคงสภาพความพร้อมและจัดการความเครียด

>> ไซมอนสั่ง เกมทำตามคำบอก เช่น “ทำตามข้อแรกในสองข้อเท่านั้น” จากนั้นจึงออกคำสั่งอย่างเร็ว “ไซมอนสั่งให้ ‘ตบมือ’ ไซมอนสั่งให้ ‘กระทืบเท้า’” เกมนี้เหมาะกับเด็กอนุบาลถึง ป.3 และเมื่อปรับกติกาหรือความเร็วก็ยังยากสำหรับชั้นมัธยม เช่น บอกว่า “นักเรียนจะได้รับคำสั่งสามข้อจากไซมอน ทำตามข้อตรงกลางในสามข้อนี้เท่านั้น”

> แตะหัวถึงเท้า และ แตะหัว เท้า เข่า ไหล่ กิจกรรมนี้มีประโยชน์เมื่อเริ่มสอนอ่านเขียนและคณิตศาสตร์ การแตะหัวถึงเท้า (สำหรับชั้นประถม) และแตะหัว เท้า เข่า ไหล่ (สำหรับชั้นมัธยม) ทำให้นักเรียนต้องผนวกสมาธิ ความจำใช้งาน และการควบคุมตนเองเข้าด้วยกัน

 

 

  • สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการยอมรับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

>> 3 ขั้นตอนเตรียมนักเรียนให้พร้อมเรียนรู้

  1. เตรียมความพร้อม ด้วยคำถามหรือความกระตือรือร้นของครู เช่น “นักเรียนอยากทำการทดลองเจ๋งๆ ไหม” หรือ “ครูจะเล่าอะไรให้ฟัง แล้วพวกเธอจะต้องทึ่ง”
  2. การยอมรับ กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ ความคาดหวัง หรือความท้าทายเพื่อให้เปิดรับบทเรียน เช่น “ครูมีวิธีลดเวลาที่ต้องก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือลงได้ สนใจไหม”
  3. ความเกี่ยวโยง ด้วยแรงขับเคลื่อนเชิงพฤติกรรม และแรงขับเคลื่อนเชิงสังคม เช่น มีอิสระในการเลือก มีความเชี่ยวชาญ การเป็นที่ยอมรับ

 

 

  • สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชน

>> การให้นักเรียนสอนซึ่งกันและกัน

5 วิธีสอนเพื่อนนักเรียน

  1. อธิบายเนื้อหา
  2. ทำให้ดูเป็นแบบอย่าง
  3. โต้วาที
  4. แสดงบทบาท
  5. เกมออกข้อสอบ

4 กลยุทธ์ที่ได้เรียนรู้

  1. ตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา
  2. สรุปสิ่งที่อ่าน
  3. คาดเดาสิ่งที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
  4. การอธิบายคำและวลีที่ไม่เข้าใจ

 

 

กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมนั้นเรียบง่ายทว่าทรงพลังอย่างยิ่ง เมื่อผนวกเข้ากับการเรียนการสอนได้ดีเยี่ยมจนแยกไม่ออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนจะตื่นตัวพร้อมเรียนเสมอ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้เปี่ยมประสิทธิภาพ ทั้งยังสร้างชุมชนในห้องเรียนอันแข็งแกร่งขึ้นมา

อ่านสรุปความพร้อมงานวิจัยอ้างอิงและตัวอย่างกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

 

สอนเปลี่ยนชีวิต: 7 ชุดความคิดพลิกห้องเรียนเพื่อเด็กทุกคน
Eric Jensen เขียน
ฐานันดร วงศ์กิตติธร, ลลิตา ผลผลา แปล
448 หน้า
อ่านตัวอย่างหนังสือและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่