ชลิดา หนูหล้า เขียน
ฟินแลนด์ ดินแดนไกลโพ้นทางตอนเหนือของยุโรปกลายเป็นที่จับตามองของนักการศึกษาทั่วโลก หลังมีประกาศว่านักเรียนชาวฟินแลนด์อายุ 15 ปี ได้คะแนนสูงสุดในการทดสอบ PISA ปี 2001 ซึ่งเป็นการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ การอ่าน รวมถึงทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จากนั้นเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย นักการศึกษา หรือสื่อมวลชนจากนานาประเทศ ต่างพยายามหาสูตรลับสู่ความสำเร็จทางการศึกษาของฟินแลนด์ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก (Pasi Sahlberg) นักการศึกษาชาวฟินแลนด์ และทิโมธี ดี. วอล์กเกอร์ (Timothy D. Walker) ครูชาวอเมริกันผู้เคยสิ้นหวังกับวิชาชีพและได้ค้นพบห้องเรียนในฝันที่ฟินแลนด์ ร่วมกันเสนอผ่านหนังสือ เชื่อใจในตัวครู: กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์ ว่าเคล็ดลับสู่การมีโรงเรียนชั้นนำและระบบการศึกษาเปี่ยมประสิทธิภาพคือปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มักถูกมองข้าม คือ “ความเชื่อใจ” ระหว่างครูและศิษย์ ระหว่างครู ระหว่างศิษย์ ระหว่างโรงเรียนและครัวเรือน รวมถึงความเชื่อใจในสังคม
สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์เนื้อหาและต่อยอดองค์ความรู้จากหนังสือเล่มดังกล่าว ทั้งในรูปแบบบทความและอินโฟกราฟิก สำหรับผู้อ่านที่สนใจนำองค์ความรู้ใน เชื่อใจในตัวครู ไปปรับใช้ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากที่ใด บทความนี้มีคำตอบให้คุณ!
ซีรีส์บทความแนะนำหนังสือและถอดบทเรียนจากหนังสือ
.
รู้จักปาสิ ซอห์ลเบิร์ก และทิโมธี วอล์กเกอร์ ผู้เขียน In Teachers We Trust
ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก เป็นนักการศึกษาชาวฟินแลนด์ผู้มีชื่อเสียง ถูกบ่มเพาะในระบบการศึกษาที่เน้นสุขภาวะและความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ขณะที่ทิโมธี ดี. วอล์กเกอร์ เป็นครูชาวอเมริกันที่ต้องสาละวนกับการผลักดันเด็กๆ ให้มีคะแนนสูงในการทดสอบมาตรฐาน และถูกรัดรึงจนสิ้นเรี่ยวแรงด้วยระบบการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ครูในสหรัฐอเมริกา ดูอย่างไรเส้นทางของคนทั้งสองก็ไม่อาจบรรจบกันได้เลย หากไม่ใช่เพราะทิโมธีตัดสินใจเริ่มต้นอาชีพครูใหม่ในเฮลซิงกิ
ทั้งสองมีประสบการณ์และความหวังต่อระบบการศึกษาแตกต่างกันอย่างไร และร่วมมือกันฉายภาพ “วัฒนธรรมความไว้เนื้อเชื่อใจ” ในหนังสือ เชื่อใจในตัวครู ได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
อ่าน ‘เชื่อใจในตัวครู: กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์’
ระบบการศึกษาฟินแลนด์ดีอย่างไร และองค์ประกอบเล็กๆ ที่ดูจะไม่สลักสำคัญอย่าง “ความเชื่อใจ” กลับเป็นฟันเฟืองที่นำมาซึ่งประสิทธิภาพระดับสากลได้อย่างไร พบคำตอบได้ในบทความสรุปเนื้อหาหนังสือ เชื่อใจในตัวครู กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์
วัตถุดิบสำหรับสร้างทุนทางสังคมและความเชื่อใจในโรงเรียน
เพราะการสอนคือกีฬาที่ต้อง ‘เล่นเป็นทีม’ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงย่อมไม่ขึ้นกับ ‘คุณภาพครู’ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า ‘ทุนทางสังคม’ หรือเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ปัจเจก กลุ่ม หรือหน่วยบางอย่างสร้างขึ้นและใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
ในโรงเรียนบางแห่ง ครูจะทำอะไรๆ ด้วยตัวคนเดียว มีโอกาสร่วมมือกับครูคนอื่นจำกัด ขณะที่ในบางโรงเรียน ครูอาจพูดถึงอาชีพของตนในฐานะงานที่อาศัยความร่วมแรงร่วมใจ ครูชาวฟินแลนด์เข้าชั้นเรียนของครูคนอื่นได้เป็นปกติ พวกเขาประชุมและออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน โรงเรียนแบบแรกมักมีทุนทางสังคมน้อยกว่า ทำให้ ‘เชื่อใจในตัวครู’ น้อยกว่าโรงเรียนแบบหลัง และสร้างระบบการศึกษาที่ด้อยประสิทธิภาพกว่า
แต่จะบ่มเพาะทุนทางสังคมที่ว่าได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
เจาะมุมมองครูฟินแลนด์-ไทย
และความหมายใหม่ของการศึกษาแบบ “แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง”
ครั้งแรกของบทสัมภาษณ์เจาะมุมมองครูจากสองระบบการศึกษาที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว อิโลนา เลมุ (Ilona Leimu) ครูชาวฟินแลนด์จากโรงเรียนประถมศึกษาเล็กๆ ในเมืองแสนห่างไกล และมะพร้าว หรือฉัตรบดินทร์ อาจหาญ อดีตครูชาวไทยที่ยังไม่สิ้นความหวังในการพลิกฟื้นระบบการศึกษา จะทำให้ความสำคัญของ ‘ความเชื่อใจ’ ต่อการขับเคลื่อนระบบการศึกษาเปี่ยมประสิทธิภาพ ชัดเจนและเปี่ยมความหมายกว่าที่เคย
Brief – เชื่อใจในตัวครู: พลิกโฉมการศึกษาไทยสู่ระบบแห่งความเชื่อใจแบบฟินแลนด์
ได้เวลาแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อปรับใช้โมเดลการศึกษาจากฟินแลนด์ในบริบทไทย กับนักการศึกษา ครู ผู้กำหนดนโยบาย และนวัตกรผู้มีฝัน ในงานเสวนาสาธารณะ ‘เชื่อใจในตัวครู: พลิกโฉมการศึกษาไทยสู่ระบบแห่งความเชื่อใจแบบฟินแลนด์’
Brief – Workshop “In Teachers We Trust เชื่อใจในตัวครู:
ฟื้นฟูหัวใจของระบบการศึกษา”
สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมผนึกกำลังกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อถอดบทเรียนจากหนังสือเป็นแนวปฏิบัติ มอบให้ครูและคนทำงานด้านการเรียนรู้กว่า 30 ชีวิต ในเวิร์กช็อป ‘เชื่อใจในตัวครู: ฟื้นฟูหัวใจของระบบการศึกษา’
พบกับบทความสรุปเนื้อหาจากเวิร์กช็อปที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและแรงบันดาลใจได้ด้านล่างนี้
รวม misc – เชื่อใจในตัวครู และจงสร้างปรัชญาที่หาญกล้า
สำหรับนักอ่านที่ต้องการ “ชิมลาง” ก่อน ว่าเนื้อหาหนังสือ เชื่อใจในตัวครู: กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์ เข้มข้นแค่ไหน ประกอบด้วยหัวข้อใดบ้าง บทความ ‘รวม misc’ ชูประเด็นเด่นจากหนังสือ คือคำตอบที่ใช่ของคุณ
ซีรีส์อินโฟกราฟิก
.
หนทางสู่การบ่มเพาะวัฒนธรรมความไว้เนื้อเชื่อใจในระบบการศึกษาประกอบด้วยหลักเจ็ดประการ ครอบคลุมการพัฒนาศักยภาพครู การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ครูใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ การสร้างสังคมที่มีการแข่งขันต่ำและเอื้อต่อการบ่มเพาะความไว้เนื้อเชื่อใจ ตลอดจนการเกื้อกูลกัน เป็นต้น ซึ่งสำนักพิมพ์บุ๊คสเคปและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้แปลงโฉมองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นอินโฟกราฟิกสีสันสดใส เนื้อหาอัดแน่นทั้งหมดเจ็ดชิ้น ดังต่อไปนี้
หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 1: สอนครูให้คิด”

หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 2: บ่มเพาะคนรุ่นต่อไป”
หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 3: อิสระภายในกรอบ”
หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 4: สร้างผู้เรียนที่รู้จักรับผิดชอบ”
หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 5: เล่นเป็นทีม”
หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 6: แบ่งปันความเป็นผู้นำ”
หลักเจ็ดประการสู่ความเชื่อใจ “หลักการที่ 7: เชื่อใจกระบวนการ”
เชื่อใจในตัวครู: กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์
In Teachers We Trust: The Finnish Way to World-Class School
Pasi Sahlberg และ Timothy D. Walker เขียน
ทศพล ศรีพุ่ม แปล
นุชชา ประพิณ ออกแบบปก
256 หน้า
อ่านรายละเอียดหนังสือและสั่งซื้อได้ที่นี่