
ชลิดา หนูหล้า เขียน
อยู่เองได้ โตเองเป็น: เลี้ยงลูกให้เขียนชีวิตด้วยมือตัวเอง เป็นผลงานของวิลเลียม สติกซ์รัด (William Stixrud) นักประสาทจิตวิทยาคลินิก และเน็ด จอห์นสัน (Ned Johnson) เจ้าของสถาบันกวดวิชาชื่อดังในสหรัฐอเมริกา คนทั้งสองมีประสบการณ์ช่วยเหลือและผลักดันเด็กๆ รวมกันหลายทศวรรษ ให้ประสบความสำเร็จผ่านการฝึกฝนการตัดสินใจ การสำรวจตัวเอง และการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสามารถในการกำกับดูแลตนเอง (sense of control) หรือความเชื่อมั่นว่าตนเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เผชิญได้ มีทางเลือกเสมอ และจะก้าวข้ามอุปสรรคได้ด้วยตนเอง อันเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ด้วย
เพราะไม่มีใครจะดูแลเด็กๆ ได้ตลอดไป วันหนึ่งพวกเขาต้องเติบโต จากบ้าน ไล่ตามความฝัน และรับผิดชอบชีวิตของตน การขัดเกลาทักษะชีวิตให้เด็กๆ เป็นมนุษย์ที่ขับเคลื่อนตัวเองได้ (self-driven child) จึงเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้พวกเขายืนหยัดในศตวรรษที่ 21 อันมากด้วยความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง
สำหรับผู้อ่านที่สนใจเนื้อหาหนังสือเล่มดังกล่าว และมุ่งมั่นจะนำแนวทางบ่มเพาะเด็กให้อยู่เองได้ โตเองเป็นในศตวรรษที่ 21 ไปปรับใช้ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร คำตอบของทุกคำถามอยู่ในบทความนี้แล้ว!
ซีรีส์บทความแนะนำหนังสือและถอดบทเรียนจากหนังสือ
.
อ่าน ‘อยู่เองได้ โตเองเป็น: เลี้ยงลูกให้เขียนชีวิตด้วยมือตัวเอง’
วันหนึ่งในคลินิกของวิลเลียม สติกซ์รัด แม่ของเด็กคนหนึ่งที่บิลให้ความช่วยเหลือกล่าวว่า “สิ่งที่เราเรียกว่าการอุ้มชูลูกควรเรียกอีกอย่างว่าการลดระดับพ่อแม่”
น่าแปลกที่หนทางที่รวดเร็วที่สุดในการทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตอย่างสมวัยและพึ่งพาตนเองได้ กลับเป็นการถอยห่างและปล่อยให้ลูกเผชิญความไม่สบายกายไม่สบายใจเพื่อเรียนรู้วิธีจัดการมันด้วยตัวเอง
แม้จะได้ยินประโยคอย่าง “ปล่อยให้เด็กทำเองเถอะ เดี๋ยวจะทำอะไรไม่เป็น” กันจนคุ้นหู การปล่อยมือให้ลูกเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหาลำพังก็ไม่เคยเป็นเรื่องง่าย เราจึงยังเห็นพ่อแม่ที่กลัดกลุ้มเพราะลูกวัยแปดขวบทะเลาะกับเพื่อนที่โรงเรียน กระวนกระวายเมื่อลูกวัยรุ่นจวนเข้ามหาวิทยาลัย และแม้ลูกๆ จะ “เป็นฝั่งเป็นฝา” ไปแล้ว ก็ยากที่จะ “หมดห่วง” ได้อย่างแท้จริง
พ่อแม่จะผ่านเส้นทางนี้ได้โดยไม่เจ็บปวดหรือวิตกกังวลเกินไป พร้อมเลี้ยงลูกให้เขียนชีวิตด้วยมือตัวเองได้อย่างไร จุดเริ่มต้นอยู่ในบทความนี้แล้ว
การศึกษาแบบไหน สร้างเด็กที่ ‘อยู่เองได้ โตเองเป็น’
“หากคุณสงสัยว่าเด็กและเยาวชนมีความสามารถในการกำกับดูแลชีวิตต่ำเตี้ยเพียงใด ให้ลองจินตนาการว่าเด็กๆ ต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน พวกเขาต้องนั่งนิ่งๆ ในชั้นเรียนที่ไม่ได้เลือกเอง ฟังครูที่ถูกสุ่มมาให้ร่วมกับเพื่อนที่จัดสรรมาด้วยวิธีใดก็ไม่รู้ ต้องเข้าแถวเป็นระเบียบ กินอาหารตามตารางเวลา และต้องลุ้นว่าครูจะอนุญาตให้ไปห้องน้ำหรือเปล่า แล้วนึกดูสิว่าเราประเมินพวกเขาอย่างไร เราไม่ได้ใส่ใจความทุ่มเทหรือดูว่าเด็กๆ พัฒนาจากเดิมมากน้อยเพียงใด แต่กลับสนใจว่าเด็กคนใดวิ่งหรือว่ายน้ำได้เร็วกว่ากันในงานแข่งขันกีฬาวันเสาร์ เราไม่วัดความเข้าใจในตารางธาตุ แต่วัดคะแนนจากการสุ่มข้อเท็จจริงไม่กี่ข้อที่เกี่ยวข้องกับตารางธาตุมาถามเด็ก”
เพราะครอบครัวไม่ใช่ดินผืนเดียวที่หล่อเลี้ยงเด็กๆ ครูและโรงเรียนมีบทบาทบ่มเพาะเด็กที่พึ่งพาตนเองได้จริงไม่น้อย แต่การศึกษาแบบใดเล่าที่ทำให้เด็กอยู่เองได้ โตเองเป็น ไม่ใช่เพียงหล่อพวกเขาให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดิมจากโรงงานเดียวกัน หาคำตอบได้ในบทความนี้
มาบอกเด็กๆ กันเถอะว่าชีวิตไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว
ใครเคยบอกลูกว่า “ถ้าไม่เข้ามหาวิทยาลัย ก. ต้องเตะฝุ่นหางานเป็นปีๆ แน่นอน” บ้าง ยกมือขึ้น!
แน่นอนว่าจะเห็นมือในอากาศประปราย ขณะที่หลายคนสะดุ้งเพราะเคยได้ยินประโยคเดียวกันนี้ในวัยรุ่น มหาวิทยาลัยอาจไกลตัวเกินไปบ้าง แต่หากเปลี่ยนคำในประโยคเป็น “ถ้าสอบเข้าโรงเรียน ข. ไม่ได้ก็อย่าหวังจะได้เข้ามหาวิทยาลัย ก. เลย” หรือ “ถ้าเลือกแผนการเรียนนี้ก็เตรียมตัวไส้แห้งได้เลย” หรือ “ถ้าไม่เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ วันข้างหน้าจะลำบากนะ” ละก็ … ต้องเห็นมืออีกหลายข้างในอากาศแน่ๆ
ดูเหมือนหนทางสู่ความสำเร็จจะเป็นถนนแคบเลียบผาที่ก้าวพลาดเพียงนิดเดียวก็พร้อมจะหล่นร่วงสู่หายนะ มุมมองนี้ไม่ดีต่อการพัฒนาความยืดหยุ่นและการจัดการความเครียดของลูกแน่ แต่จะทำอย่างไรดีนะ หาคำตอบได้ในบทความนี้
เมื่อการเจริญสติโดยสมัครใจ ช่วยให้เด็กเติบโตสมวัยมากกว่าที่คุณคิด
เสวนาสาธารณะ “อยู่เองได้ โตเองเป็น: เพราะเด็กทุกคนเขียนชีวิตได้ด้วยมือตัวเอง”
“เราปล่อยมือจากลูกเมื่อไรกันบ้าง” เป็นคำถามที่ทุกครอบครัวมีคำตอบแตกต่างกัน บางคนปล่อยมือจากลูกทันทีที่สัมผัสได้ว่าเด็กเริ่ม “ปีกกล้าขาแข็ง” บ้างปล่อยให้ลูกเป็นอิสระเมื่อเข้ามหาวิทยาลัย หรือยังยึดมือของลูกไว้แน่นแม้เมื่อลูก “เป็นฝั่งเป็นฝา” แล้ว ที่น่าสนใจคือความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กอาจไม่ใช่สาเหตุของการปล่อยหรือไม่ปล่อยมือของผู้ใหญ่ แต่เป็นความรู้สึกว่าพวกเขาดูแลตัวเองได้หรือไม่ต่างหาก
Bookscape ร่วมกับกสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชวนทบทวนแนวทางเลี้ยงดูและบ่มเพาะเด็กต่างกลุ่ม ต่างวัย ผ่านแว่นตาการศึกษา จิตวิทยา และการสร้างสรรค์นโยบาย เพื่อตอบคำถามว่าจะทำอย่างไรให้เด็กทุกคนมีกรอบความคิดแบบเติบโต มีวิจารณญาณ พร้อมก้าวผ่านอุปสรรคในชีวิต “อยู่เองได้ โตเองเป็น” ในศตวรรษใหม่ พร้อมแนวทางวางตัว-วางใจ ให้เป็นผู้สนับสนุนพัฒนาการที่ดี
คำตอบต่างมุมมองและการเสวนาของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชานั้นเข้มข้น ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจได้มากน้อยเพียงใด หาคำตอบได้ในบทความนี้
quote – อยู่เองได้ โตเองเป็น: เพราะเด็กทุกคนเขียนชีวิตได้ด้วยมือตัวเอง
เก็บตกข้อคิดและความประทับใจจากงานเสวนาสาธารณะ “อยู่เองได้ โตเองเป็น: เพราะเด็กทุกคนเขียนชีวิตได้ด้วยมือตัวเอง”
Workshop “The Self-Driven Child: อยู่เองได้ โตเองเป็น”
อินโฟกราฟิก: เรียนรู้ด้วยภาพ
.
#ช่วยน้องด้วยนะคะ คู่มือช่วยเหลือ “เด็กสี่ประเภท” ที่มีแรงจูงใจแตกต่างกัน
สองผู้เขียน อยู่เองได้ โตเองเป็น: เลี้ยงลูกให้เขียนชีวิตด้วยมือตัวเอง เชื่อว่าพ่อแม่และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดนำทางเด็กๆ ให้พบแรงจูงใจในตนเอง ตลอดจนฝึกฝนให้พวกเขาหล่อเลี้ยงแรงจูงใจนั้นจนตลอดรอดฝั่งโดยไม่ทำร้ายตัวเองได้ โดยแบ่งเด็กกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาแรงจูงใจเป็นสี่ประเภท ได้แก่ ผู้บ่อนทำลาย ผู้กระตือรือร้น เด็กอียอร์ และเด็กแบบเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์
ลูกของคุณเป็นใคร “ผู้บ่อนทำลาย” ที่ไม่อาจจัดการเวลาและพลังงานเพื่อไล่ตามความฝันได้ หรือเป็น “ผู้กระตือรือร้น” ที่มีพลังงานล้นเหลือ กระโดดไกลเพื่อคว้าความฝันโดยทอดทิ้งการเรียนไว้เบื้องหลัง ขณะที่ลูกของคนที่คุณรู้จักอาจเป็น “เด็กอียอร์” ผู้ไม่เชื่อว่าตนมีความสามารถพิเศษอย่างใครๆ หรือ “เด็กแบบเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์” ที่หลงใหลความสมบูรณ์แบบจนเป็นภัยต่อตัวเอง
ถึงเวลา #ช่วยน้องด้วยนะคะ ช่วยเหลือเด็กที่มีแรงจูงใจสี่ประเภทด้วยกลยุทธ์ในบทความนี้