รวมเสวนาสาธารณะสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ปี 2563 – 2564

ตลอดปี 2563 – 2564 สำนักพิมพ์ bookscape ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะที่ต่อยอดจากหนังสือในโครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก ครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ปีที่ 2 ที่ช่วยเสริมสร้าง 3 เรื่อง ได้แก่ เสริมสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัว เสริมสร้างความรู้ใหม่สำหรับพ่อแม่ยุคดิจิทัล และเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะครอบครัว โดยจัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะทั้งสิ้น 8 งาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) เสวนาสาธารณะ “เพศศึกษาสนทนา: ความยินยอม เซ็กซ์ และความสัมพันธ์ที่ดีสำหรับวัยรุ่น”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น. Live ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก bookscape

หากคุณไม่รู้ว่าจะคุยเรื่องเพศกับลูกๆ อย่างไร หากคุณมองว่าเซ็กซ์เป็นเรื่องอันตราย หากคุณคิดว่าเพศศึกษาเป็นเครื่องมือป้องกันไม่ให้วัยรุ่นมีเซ็กซ์ อาจถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่

เสวนาสาธารณะครั้งนี้จะชวนมาเปลี่ยนและเปิดมิติใหม่ของบทสนทนาเรื่องเพศ ที่จะช่วยให้วัยรุ่นมีเซ็กซ์และความสัมพันธ์ที่เสมอภาค ปลอดภัย และมีความสุขกว่าเดิม ในเวทีเสวนาสาธารณะ “เพศศึกษาสนทนา: ความยินยอม เซ็กซ์ และความสัมพันธ์ที่ดีสำหรับวัยรุ่น” วงชวนคุย-ชวนคิด-ชวนอ่านหนังสือ “เพศศึกษากติกาใหม่: ไกด์บุ๊คว่าด้วยความยินยอม เซ็กซ์ และความสัมพันธ์ที่ดีสำหรับวัยรุ่น” (Consent: The New Rules of Sex Education)

พบกับแนวทางการพูดคุยหลากหลายประเด็นเรื่องเพศกับวัยรุ่นอย่างเข้าอกเข้าใจ เปิดใจ และอบอุ่นใจ

  • จะเริ่มมีเซ็กซ์เมื่อไหร่ดี
  • วิธีคุมกำเนิดแบบไหนปลอดภัยสุด
  • ทำอย่างไรดีหากถูกเพื่อนล่วงละเมิดทางเพศ
  • หากอีกฝ่ายไม่พูดว่า “ไม่” แปลว่า “ได้” หรือเปล่า

เปิดประเด็นโดย

  • ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ร่วมสนทนาโดย

  • รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พญ.ธันยนันท์ กังวาฬพรโรจน์ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการประจำโรงเรียน
  • พิช วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล นักแสดง นักร้อง และนักเขียน

ชวนสนทนาโดย

  • ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ ผู้แปลหนังสือ “เพศศึกษากติกาใหม่” (Consent: The New Rules of Sex Education)

2) เสวนาสาธารณะ “โลกซึมเศร้า: คลายปมโรคแห่งยุคสมัย และทางเลือกใหม่ในการเยียวยา”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น. Live ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก bookscape

“โรคซึมเศร้า” คือหนึ่งในประเด็นปัญหาสำคัญที่กัดกินสุขภาพจิตของสังคมในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนอยู่ในภาวะเปราะบางทางจิตใจเช่นทุกวันนี้

  • อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผู้คนมากมายตกอยู่ภาวะซึมเศร้า?
  • เหตุใดใครหลายคนจึงไม่อาจหลุดพ้นจากวังวนความเจ็บปวดได้เสียที?
  • หรืออาจถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมามองโรคซึมเศร้า ในฐานะ ‘สัญญาณ’ ที่สะกิดให้ทบทวนความไม่สมดุลในชีวิต?
  • แล้วเราจะมีวิธีเยียวยาภาวะซึมเศร้า และค้นหาหนทางฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสิ่งสำคัญที่เคยหล่นหายไปในชีวิตได้อย่างไร?

ชวนร่วมเดินทางค้นหาคำตอบเบื้องลึกของ “โรค” และ “โลก” ซึมเศร้า พร้อมสำรวจหนทางเยียวยาทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดจากตัวแทนผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจากหลากหลายแวดวง อาทิ แพทย์สาขาจิตเวชศาสตร์ นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาการปรึกษา และผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับภาวะซึมเศร้ามานานหลายปี

ร่วมสนทนาโดย

  • ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล โรงเรียนแพทย์ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
  • ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว ผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ R U OK
  • สมภพ แจ่มจันทร์ นักจิตวิทยาการปรึกษา และผู้ร่วมก่อตั้ง Knowing Mind – ศูนย์บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและส่งเสริมสุขภาวะ
  • ทราย เจริญปุระ นักแสดง นักเขียน และพิธีกร

ชวนสนทนาโดย

  • อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา.

3) เสวนาสาธารณะ “มองโลก + เปลี่ยนโลกด้วยจิตวิทยาสังคม”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น. Live ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก bookscape / สสส. / Thai PBS

เมื่อ ‘มนุษย์’ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า ‘โลก’ ‘จิตวิทยาสังคม’ จึงเป็นศาสตร์สำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจอิทธิพลของสังคมที่เชื่อมร้อยกับทุกการกระทำและความคิดของบุคคล

ชวนเรียนรู้ ‘จิตวิทยาสังคม’ ในฐานะเครื่องมือในการ ‘มองโลก+เปลี่ยนโลก’ เพื่อขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลากหลายมิติ ทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจทางสังคม การสร้างผู้นำความเปลี่ยนแปลง การทำงานด้านเด็กและเยาวชน การขับเคลื่อนประชาธิปไตย ตลอดจนการลดอคติและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์การประยุกต์ใช้จิตวิทยาสังคมจากหลากหลายแวดวง

ร่วมสนทนาโดย

  • ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการบ้านกาญจนาภิเษก
  • รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น
  • ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แปลหนังสือ จิตวิทยาสังคม: ความรู้ฉบับพกพา
  • พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ก่อตั้ง School of Changemakers
  • ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ที่ปรึกษาด้าน Communication Strategy โครงการ Rethink Thailand

ชวนสนทนาโดย

  • กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักจัดรายการเช้าทันโลก FM 96.5

4) เสวนาสาธารณะ “THE BEST PLACE TO WORK ที่ (น่า) ทำงาน”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 – 17.00 น. ห้องประชุม 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.)

ชวนร่วมถอดรหัส ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งการสร้างที่ทำงานชั้นยอด’ ในโลกยุคใหม่ ในงานเสวนาสาธารณะ “The Best Place to Work – ที่ (น่า) ทำงาน”

  • ทำไมที่ทำงานชั้นยอดถึงยอมจ้างคุณมา ‘เล่น’
  • เราจะออกแบบออฟฟิศอย่างไรให้ ‘ใส่ใจทุกรายละเอียด’ และ ‘ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์’ ไปพร้อมกัน
  • ทำไมบริษัทที่ประสบ ‘ความสำเร็จ’ ถึงให้รางวัลกับ ‘ความล้มเหลว’
  • กลวิธีเปลี่ยน ‘กลุ่มคนแปลกหน้า’ ให้กลายเป็น ‘ชุมชน’ ต้องทำอย่างไร
  • ที่ทำงานสมัยใหม่ก้าวข้ามปัญหา ‘work-life balance’ แล้วผสมผสานงาน ชีวิตส่วนตัว และครอบครัว เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไรทำไมพนักงานที่มี ‘ความสุข’ หมายถึง ‘กำไร’ ที่มากขึ้น
  • คาสิโน โลกวิดีโอเกม และนักเจรจาต่อรองคนร้าย สอนอะไรเรา เรื่องงานและที่ทำงาน

ตอบคำถามท้าทายเรื่อง “งาน-ชีวิต-ออฟฟิศ-ครอบครัว” ผ่านหนังสือ ‘The Best Place to Work’ ฉบับภาษาไทย โดย รอน ฟรีดแมน นักจิตวิทยาสังคม ผู้สนใจศึกษาแรงจูงใจของมนุษย์และพฤติกรรมองค์การ สนทนาต่อยอดจากหนังสือเล่มสำคัญที่รวบรวมข้อค้นพบล่าสุด ซึ่งสกัดจากงานวิจัยกว่าพันชิ้น ทั้งด้านประสาทวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม การบริหารจัดการ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ พร้อมกลเม็ดเคล็ดลับจากบริษัทชั้นนำ เช่น กูเกิล แอมะซอน และสตาร์บัคส์ เพื่อออกแบบและลงแรงสร้าง ‘ที่ (น่า) ทำงาน’ ในฝัน ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ นวัตกรรม ความสุข ความรู้สึกผูกผันมีส่วนร่วม ผลงานที่น่าภาคภูมิ และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทำงานทุกคน

ช่วงที่ 1 (13.30 – 15.30 น.) : เสวนา “ศาสตร์และศิลป์แห่งการสร้างที่ทำงานชั้นยอด”

“ความลับของที่ทำงานชั้นยอดไม่ใช่การทุ่มเงินมากขึ้น แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อม เงื่อนไข และบรรยากาศการทำงาน ที่ทำให้พนักงานทุกคนมีความสุขและสามารถทำงานได้ดีที่สุด” – รอน ฟรีดแมน ผู้เขียน

เปิดเวทีความคิดกับนักบริหารองค์กร นักบริหารคน นักออกแบบ และนักขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะครอบครัว บนเส้นทางแสวงหา “ที่ (น่า) ทำงาน” ในโลกยุคใหม่

ร่วมสนทนาโดย

  • รศ.ดร.พิภพ อุดร อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และอดีตผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ all(zone) / และเจ้าของคอลัมน์ Shaped by Architecture ทาง The101.world
  • ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB  Digital Banking ในเครือธนาคารทหารไทย
  • ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.

ช่วงที่ 2 (15.45 – 17.00 น.) : เสวนา “ถอดรหัสสุดยอดที่ทำงาน: กูเกิล – ดีแทค – ศรีจันทร์”

เปิดเวทีสำรวจเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างที่(น่า)ทำงาน เล่าประสบการณ์ตรงโดยผู้บริหารระดับสูงของสามบริษัทที่โดดเด่นด้านการสร้างที่ทำงานให้เป็นมิตรกับชีวิตพนักงาน และเป็นเลิศด้านธุรกิจ

ร่วมสนทนาโดย

  • จิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้จัดการฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด
  • นาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค)
  • รวิศ หาญอุตสาหะ ซีอีโอ บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด

ชวนสนทนาโดย

  • ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการสารคดีและบทความ The101.world

5) เสวนาสาธารณะ “THE ART OF SCREEN TIME หน้าจอ-โลกจริง สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น. ห้องประชุม 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.)

ชวนหรี่เสียงวิพากษ์ ปิดหน้าจอ แล้วมาเปิดใจฟังมุมมองใหม่ของการใช้ “หน้าจอ” เพื่อสุขภาวะในครอบครัว ในงานเสวนา “The Art of Screen Time: หน้าจอ-โลกจริง สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล”

ในโลกยุคดิจิทัล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้เพียงรายล้อมรอบตัวเด็กๆ แต่ยังแทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันทุกขณะ จากโทรทัศน์ สู่โทรศัพท์มือถือ เกม ไปจนถึง AI เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน พร้อมความกังวลของผู้ปกครองที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับการใช้ “หน้าจอ” ของเด็กๆ และแม้กระทั่งของตัวพ่อแม่เอง

  • การใช้หน้าจอทำให้เด็กสมาธิสั้น เป็นโรคอ้วน และเป็นโรคซึมเศร้าได้จริงหรือ
  • เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรใช้หน้าจอโดยเด็ดขาดใช่หรือไม่
  • พ่อแม่เองจะใช้หน้าจอเมื่ออยู่กับลูกๆ อย่างไร ให้ได้ทั้งงานและสายสัมพันธ์กับลูก
  • เราจะปกป้องเด็กๆ จากอันตรายด้านความปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้อย่างไร

เมื่อการปิดโทรทัศน์ไม่ได้ช่วยให้ลูกๆ ตัดขาดจากหน้าจอได้อีกต่อไป พวกเขายังคงเข้าหาหน้าจออื่นๆ ได้แค่เอื้อมมือ อาจจะถึงเวลาที่พ่อแม่ยุคใหม่ต้องหันกลับมาเผชิญกับหน้าจอเสียเอง ลบอคติเก่าๆ แล้วทำความเข้าใจอย่างเปิดกว้าง เพื่อเปลี่ยนตัวร้ายในอดีตให้กลายเป็นเครื่องมือทรงพลังในการเสริมสร้างสุขภาวะเด็กและครอบครัว ศิลปะใหม่ของการใช้หน้าจอในครอบครัว คือการทำความเข้าใจว่าเราต้องใช้หน้าจอแค่ไหนและอย่างไรจึงจะสมดุลและเป็นผลดี เพื่อป้องกันผลร้ายต่อเด็กๆ และยังช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของลูก เปิดโอกาสในการใช้ชีวิตของพ่อแม่ รวมทั้งสานสัมพันธ์ในครอบครัว

ร่วมสนทนาโดย

  • รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
  • ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
  • ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO-Co-Founder ZTRUS, บอร์ดบริหาร DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association
  • ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน​

ชวนสนทนาโดย

  • ประวีณมัย บ่ายคล้อย ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

6) เสวนาสาธารณะ “สร้าง สาน ซ่อม เมื่อลูกเติบโต เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2564 เวลา 14.00 – 17.00 น. Live ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก bookscape / สสส. / Thai PBS

ชวนร่วมงานเสวนาที่จะพาคุณไปทบทวนความสัมพันธ์ในครอบครัวตั้งแต่อดีตซึ่งส่งผลต่อวิธีที่คุณเลี้ยงดูลูก ทำความเข้าใจอิทธิพลของสายสัมพันธ์ที่มีต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งทางปัญญาและอารมณ์ รับมือกับการปะทะกันทางความคิดและความรู้สึกในวันที่ลูกเติบโต ตลอดจนแลกเปลี่ยนวิธีรับมือความท้าทายสารพัดของการเป็นพ่อแม่ยุคใหม่ที่ไม่เพียงแต่จะรักลูก แต่ยังอยากจะ ‘ชอบ’ และ ‘เข้าใจ’ ลูกด้วย

“สร้าง-สาน-ซ่อม: เมื่อลูกเติบโต เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง” ชวนคิดชวนคุยถึงแง่มุมความสัมพันธ์ การเติบโต และการเรียนรู้ที่ต่อยอดจากหนังสือ “เสียดายแย่ ถ้าพ่อแม่ไม่ได้อ่าน” รวมทั้งประเด็นร่วมสมัยและสารพัดคำถามคาใจพ่อแม่ยุคใหม่ อาทิ วิธีที่เราถูกเลี้ยงดูมาส่งผลต่อวิธีที่เราเลี้ยงดูลูกอย่างไร พ่อแม่ควรส่งเสริมการเรียนรู้แบบไหนในโลกยุคใหม่ที่ความรู้ไร้พรมแดน พ่อแม่จะพูดคุยและสื่อสารกับลูกที่ไปม็อบอย่างไรให้เข้าใจกัน อะไรคือวิธี ‘เจรจาต่อรอง’ ที่เหมาะสมในครอบครัว เป็นต้น

ร่วมสนทนาโดย

  • นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน
  • วีรพร นิติประภา คุณแม่และนักเขียนซีไรต์
  • ป๋าเต็ด – ยุทธนา บุญอ้อม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส หน่วยงาน Showbiz บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
  • ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (หมอโอ๋ เพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน)

ชวนสนทนาโดย

  • มิรา เวฬุภาค CEO และผู้ก่อตั้ง Flock Learning

7) เสวนาสาธารณะ “ออกแบบเพื่อเท่าเทียม ‘สะกิด’ กรอบคิดเรื่องเพศด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. Live ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก bookscape / สสส. / Thai PBS

 

ชวนมา ‘สะกิด’ กรอบคิดเรื่องเพศที่ฝังรากลึกในความคิดและปรากฏอยู่รอบตัว พร้อมหาหนทางออกแบบสังคมที่เท่าเทียมทางเพศผ่านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ในงานเสวนา “ออกแบบเพื่อเท่าเทียม ‘สะกิด’ กรอบคิดเรื่องเพศด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม”

‘ความเหลื่อมล้ำทางเพศ’ ในสังคมคือปัญหาสำคัญที่หลายคนอาจเคยประสบกับตัวหรือพบเจอทางอ้อม ไม่ว่าคุณจะตระหนักถึงมันหรือไม่ แต่ ‘อคติทางเพศ’ นั้นแฝงตัวและฝังรากลึกในแทบทุกพื้นที่รอบตัวเรา ตั้งแต่ในบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน แวดวงการเมือง ธุรกิจ ตลอดจนสังคมโดยรวม

ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำทางเพศ’ พร้อมพูดคุยถึงแนวทางการออกแบบสังคมที่เท่าเทียมทางเพศผ่านแนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จากหนังสือ”ออกแบบเพื่อเท่าเทียม: ‘สะกิด’ กรอบคิดเรื่องเพศด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” (What Works: Gender Equality by Design) ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรผู้มากประสบการณ์จากหลากหลายแวดวง

ร่วมสนทนาโดย

  • รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเจ้าของแฮชแท็ก #ทวิตรัก
  • ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.
  • ผศ.ดร.เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู Department of Economics Universidad Carlos III de Madrid
  • เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชวนสนทนาโดย

  • ประวีณมัย บ่ายคล้อย ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

8) เสวนาสาธารณะ “READ-ALOUD FAMILY บ้านนักอ่าน สานสัมพันธ์ยั่งยืนด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง”

จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. Live ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก bookscape / สสส. / Thai PBS

“บ้านเป็นสถานที่ที่เราตกหลุมรักหนังสือ บ้านเป็นสถานที่เดียวที่ลูกๆ ของเรามีโอกาสตกหลุมรักหนังสือ”

ห้วงเวลาแห่งความผันผวนไม่แน่นอนในทุกวันนี้อาจปิดประตูโอกาสการเรียนรู้และเติบโตของเด็กหลายคน ทั้งยังกระหน่ำซัดสายสัมพันธ์ในครอบครัวจนยุ่งเหยิง มาร่วมกันสร้างบ้านอันอบอุ่นที่จะปกป้องและโอบอุ้มสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้เติบโตผ่านพายุครั้งนี้ไปพร้อมๆ กัน และถักทอสายใยอันแน่นแฟ้นที่จะห่มคลุมเด็กๆ ไว้ไม่ว่าพวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคใดในอนาคต ด้วยการอ่านออกเสียง อิฐก้อนแรกแห่งความรักและการเรียนรู้ ที่จะหยัดยืนมั่นคงไปตลอดชีวิตเด็กๆ

ชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้าง ‘บ้านนักอ่าน’ ด้วยการอ่านออกเสียงกับผู้เชี่ยวชาญ คุณแม่ และลูกๆ ที่จะมาเล่าถึงพลังและความมหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียงในงานเสวนาสาธารณะรูปแบบออนไลน์ “Read-Aloud Family บ้านนักอ่าน – สานสัมพันธ์ยั่งยืนด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง”

ชวนพูดคุยถึงกลเม็ดเคล็ดลับการเลือกหนังสือและการอ่านออกเสียงให้ลูกฟัง ค้นพบวิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกไม่มีสมาธิฟัง วิธีสร้างวัฒนธรรมการอ่านในบ้าน และแนวทางชวนลูกๆ พูดคุยหลังอ่านหนังสือจบ เผยพลังมหัศจรรย์จากการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนหรือประสบการณ์ชีวิต พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนหนังสืออ่านออกเสียงเล่มโปรดของคุณแม่และลูกๆ

ร่วมสนทนาโดย

  • หมอแพม – พ.ญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี และน้องพรีม เจ้าของเพจ หมอแพมชวนอ่าน
  • แม่จั่น – ชนิดา สุวีรานนท์ และน้องต้นหลิว เจ้าของเพจ เรไรรายวัน
  • พี่ข้าวตู – ชัชนันท์ ประสพวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์กลุ่มเด็กในเครืออมรินทร์

ชวนสนทนาโดย

  • พนิตชนก ดำเนินธรรม (นิดนก) เจ้าของเพจ NidNok

ในปี 2565 สำนักพิมพ์ bookscape ยังมีจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวอย่างต่อเนื่อง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FB Page: bookscape