vdo: Why We Sleep นอน(ไม่)หลับเรื่องใหญ่!

 

เพราะการนอนสำคัญกับชีวิตตอนตื่นของเรามากกว่าที่คิด bookscape ชวน 4 หมอและ 1 นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ มาร่วมอธิบายและยืนยันเรื่องนี้กับทุกคนอีกครั้ง

คนวัยใดที่มีปัญหาการนอนหลับมากที่สุด? เราจะมีวิธีสังเกตตัวเองเรื่องการนอนอย่างไร? ต้องมีปัญหานอนไม่หลับนานเท่าไหร่ ถึงควรปรึกษาแพทย์?

รศ.นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์นิทราเวช รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ช่วยตอบปัญหาคาใจว่าด้วยการนอน และแนะนำว่ากลุ่มผู้ที่นอนไม่หลับแบบตื่นบ่อยตอนกลางคืน ควรหาสาเหตุการนอนไม่หลับของตัวเองมากที่สุด

 

การนอนสำคัญแค่ไหน ทำไมเราถึงต้องนอน? และการนอนไม่พอส่งผลต่อชีวิตตอนตื่นของเราอย่างไรบ้าง? ชวนไปฟัง ดร.แทนไท ประเสริฐกุล นักสื่อสารวิทยาศาสตร์อารมณ์ดี ผู้ดำเนินรายการ WiTcast ที่ชอบนอนดึกเป็นกิจวัตร อธิบายความสำคัญของกิจกรรมที่กินเวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตเราให้เข้าใจอย่างง่ายๆ

สำหรับผู้มีปัญหาการนอนหลับอยู่ตอนนี้ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการนอน เช่น ถ้าปวดปัสสาวะตอนดึกถือว่ามีปัญหาการนอนไหม ถ้าอยากออกกำลังควรออกกี่ชั่วโมงก่อนนอน อุณหภูมิในห้องนอนควรเป็นเท่าไร ของบางอย่างกินแล้วช่วยให้หลับดีไหม อย่างเช่น แอลกอฮอล์ นมอุ่นๆ ยานอนหลับ ฯลฯ ชมเทปบันทึกภาพเสวนา ‘Why We Sleep: นอนเปลี่ยนชีวิต’ ได้ที่นี่ 

 

จากงานศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างการนอนไม่หลับและโรคเรื้อรังอย่างไร? การชอบนอนตื่นเช้าแบบนกกระจาบ และนอนตื่นสายแบบนกฮูก มาที่มาจากอะไร? และส่วนที่น่าสนใจจากหนังสือ Why We Sleep: นอนเปลี่ยนชีวิต ที่นำมาปรับใช้ได้จริง?

รศ.ดร.พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มีคำแนะนำถึงวัยรุ่นและผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงผู้ที่ทำงานเป็นกะ ว่าหากเป็นไปได้ควรลองปรับเวลาการนอนให้ไม่ดึกจนเกินไป เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไปจนถึงการเป็นเบาหวาน

 

“นอนไปทำไมเยอะแยะ ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก เสียเวลาทำอย่างอื่นไปตั้ง 7-8 ชั่วโมง” จริงหรือ?

ดร.นพ.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ แพทย์ด้านประสาทวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ ให้คำอธิบายแก้ความเข้าใจผิดเรื่องนี้ และเล่าถึงงานวิจัยสนุกๆ ว่าด้วยความจำกับการนอน ปิดท้ายด้วยคำแนะนำว่าเราควรนอนอย่างไรให้ได้ทั้งปริมาณที่พอเหมาะและคุณภาพที่ดี

 

สำหรับคนที่นอนดึกหรือนอนไม่พอ มีวิธีปรับพฤติกรรมอย่างไรให้การนอนมีคุณภาพขึ้น? ข้อชวนคิดหรือสิ่งที่ได้จากหนังสือ Why We Sleep ที่นำไปปฏิบัติได้จริง

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชวนหันมาปรับสิ่งใกล้ตัวที่ส่งผลต่อการนอน เช่น อาหารการกิน การออกกำลัง อุณหภูมิ เสียง ไปจนถึงแสง

และอาจไม่ใช่แค่ตัวเรา แต่ชวนมองในเชิงโครงสร้าง อาทิ หากเป็นโรงเรียน หรือทั้งสังคม จะหาทางช่วยให้การนอนของเยาวชน รวมถึงผู้คนมีคุณภาพขึ้นได้อย่างไรบ้าง?


สำหรับผู้สนใจ ชมเทปบันทึกภาพเสวนา “Why We Sleep: นอนเปลี่ยนชีวิต” ได้ที่นี่