vdo: The Best Place to Work – ที่ (น่า) ทำงาน

เราอาจเลือกงานได้ และคิดว่าได้ทำงานที่ตัวเองชอบแล้ว แต่เราก็ยังไม่มีสิทธิเลือกเพื่อนร่วมงาน ไม่มีสิทธิเลือกเจ้านาย ไม่มีสิทธิเลือกสถานที่ทำงาน ปัจจัยเหนือการควบคุมเหล่านี้อาจกลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้คนทำงานต้องจำยอม จนงานที่ชอบอาจกลายเป็นงานที่ ‘ไม่ใช่’ ไปในที่สุด “ถ้าเช่นนั้นแล้ว สถานที่ทำงานชั้นยอดเป็นอย่างไร แล้วเราจะสร้างสรรค์มันขึ้นมาได้จริงหรือ”

bookscape จึงชวนนักบริหารองค์กร นักบริหารคน นักออกแบบ นักขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะครอบครัว และผู้บริหารระดับสูง มาร่วมตอบคำถามเพื่อสร้าง ‘ที่ (น่า) ทำงาน’ ในฝัน ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ นวัตกรรม ความสุข ความรู้สึกผูกพันมีส่วนร่วม ผลงานที่น่าภาคภูมิ และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทำงานทุกคน

พูดคุยกับ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB Digital Banking ต่อยอดจากหนังสือ “The Best Place to Work” หรือ “ที่ (น่า) ทำงาน: ศาสตร์และศิลป์แห่งการสร้างสถานที่ทำงาน” โดย รอน ฟรีดแมน นักจิตวิทยาสังคม ผู้สนใจศึกษาแรงจูงใจของมนุษย์และพฤติกรรมองค์การ
    • ในมุมผู้บริหารรุ่นใหม่ มองการนินทาในองค์กรอย่างไร
    • มีวิธีดึงดูดคนรุ่นใหม่มาทำงานกับองค์กรอย่างไร เมื่อเขามองเป้าหมายและความสำเร็จต่างจากคนรุ่นก่อนๆ
    • ประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือ “The Best Place to Work” ที่องค์กรทำอยู่แล้ว หรืออยากปรับใช้ในอนาคต

อนาคตของที่ทำงานในเมืองไทยจะเป็นอย่างไร? และเมื่อการสัมภาษณ์งานไม่ตอบโจทย์ ทั้งยังมีจุดบอดหลายอย่าง มีวิธีอะไรใหม่ๆ ในการคัดเลือกคนทำงานให้ตรงกับงานและเหมาะกับองค์กรอย่างแท้จริง?

ฟังคำตอบจาก รศ.ดร.พิภพ อุดร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อดีตผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากคำถามท้าทายคนทำงานที่ว่า เราสามารถเป็นครอบครัวเดียวกับคนในที่ทำงานได้จริงหรือไม่

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ยังเล่าถึงสิ่งที่ได้จากการเก็บข้อมูล Family Friendly Workplace ของ สสส. ว่าได้แนวคิดอะไรใหม่ๆ มาปรับใช้กับที่ทำงานบ้าง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างที่ทำงานซึ่งไม่เพียงเป็นมิตรกับคนทำงานเท่านั้น แต่ยังเอื้อให้คนทำงานจัดการ “งาน-ชีวิต-ออฟฟิศ-ครอบครัว” ได้อย่างลงตัวและมีความสุข

พูดคุยกับ ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ all(zone) เพื่อหาแนวทางสร้างที่ “น่า” ทำงานที่เหมาะกับคนทำงานและเป็นไปได้จริง

      • สถานการณ์โควิด 19 ทำให้คนต้องทำงานที่บ้านมากขึ้น จะปรับพื้นที่ในบ้านอย่างไรให้เหมาะกับการทำงาน
      • ควรออกแบบพื้นที่ทำงานอย่างไรให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น
      • แนวคิดจากหนังสือ “The Best Place to Work” ที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้ได้จริง

สำรวจเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างที่ (น่า) ทำงาน เล่าประสบการณ์ตรงโดยผู้บริหารระดับสูงของสามบริษัทที่โดดเด่นด้านการสร้างที่ทำงานให้เป็นมิตรกับชีวิตพนักงาน และเป็นเลิศด้านธุรกิจ

      • รวิศ หาญอุตสาหะ CEO บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด
      • นาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค)
      • จิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้จัดการฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด

ชมเทปบันทึกภาพเสวนาสาธารณะ “The Best Place to Work – ที่(น่า)ทำงาน”

จัดโดยโครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ร่วมกับสำนักพิมพ์ bookscape