vdo: ทลายกรอบการศึกษาไทย สู่สังคมกระหายความรู้

หนึ่งในปัญหาการศึกษาไทยที่ผู้ใหญ่หลายคนสังเกตเห็นและเป็นกังวลคือ เด็กไทยติดอยู่กับการเรียนแบบเดิมๆ และคิดนอกกรอบไม่ได้
ปราศรัย เจตสันต์ ครูโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม และสมาชิกกลุ่ม Critizen มองว่า จุดเริ่มต้นที่ดีที่จะขยับไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย ทำแค่จุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ ต้องทำพร้อมกันทั้งระบบ ซึ่งครูคือหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้เด็กๆ กระหายใคร่รู้
ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ครูสังคมศาสตร์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ เสริมเรื่องวิธีการสอนที่ช่วยให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์และสนุกกับห้องเรียนจริงๆ ซึ่งต้องมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา
ตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะผู้อยู่ในบริษัทออกแบบการเรียนรู้ โดยเห็นความสำคัญของการตั้งคำถามและกระบวนการเรียนรู้เป็นสำคัญ ไม่ใช่เทคโนโลยีล้ำๆ แต่เพียงอย่างเดียว

ทำไมห้องเรียนไทยไม่สนุกเลย

“ก็เพราะเป็นการเรียน จะให้สนุกได้ยังไง” หนึ่งในคำกล่าวที่ฝังหัวกันมาตลอดว่าการศึกษาต้องจริงจังและอยู่ตรงข้ามกับความสนุกแทบทุกมิติ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีข้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ความสนุก” คือสิ่งกระตุ้นให้เด็กๆ คิดสร้างสรรค์และต่อยอดการเรียนรู้ออกไปได้ไม่สิ้นสุด
อธิษฐาน์ คงทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการก่อการครู เล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้างที่ครูสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้ห้องเรียนมีความสุข และตัวครูเองก็สนุกไปกับการสอน
เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยเติมในมุมเศรษฐศาสตร์ว่า ถ้าอยากเปลี่ยนการศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์ขึ้นควรทำอย่างไร นอกจากนั้น ยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่ไม่มั่นใจกับการศึกษาในระบบและหันมาสนใจการทำ homeschool อีกด้วยว่าแค่พ่อแม่พร้อมอาจยังไม่พอ

ห้องเรียนไทย “I like, I wish, I wonder”

ชวนฟังมุมมองของ ธัญชนก คชพัชรินทร์ อดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท และร่วมคิดฝันถึงอนาคตห้องเรียนไทยที่ทั้งสนุกสนานและสร้างสรรค์ไปด้วยกัน