vdo: จาก “จิตวิทยาเด็ก” สู่กิจกรรมสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้

 

พูดคุยกับ พฤหัส พหลกุลบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) และกลุ่มก่อการครู ผู้นำทีม workshop จิตวิทยาเด็ก ถึงกระบวนการและการต่อยอดความรู้จาก จิตวิทยาเด็ก: ความรู้ฉบับพกพา สู่ “กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยาเด็ก”

นอกจากการถอดบทเรียนองค์ความรู้มาสู่กิจกรรมแล้ว พฤหัสยังส่งกำลังใจมายังพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงคำแนะนำว่า จะนำสิ่งที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้กลับไปฝากเด็กๆ อย่างไร

 

ความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยรุ่น ผศ.นพ.พนม เกตุมาน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น มองว่า หากพ่อแม่ ครู และคนทำงานด้านเด็ก หาความรู้และเข้าใจพฤติกรรมตามวัยของเด็กๆ มากขึ้นก็จะพอประเมินได้ว่า ตอนนี้เด็กๆ มีปัญหาแล้วหรือยัง และควรแก้ไขอย่างไร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ยิ่งรู้ไวเท่าไร ก็ยิ่งจัดการได้ไวเท่านั้น

ตามไปฟังคำแนะนำจากคุณหมอพนมต่อได้ในคลิป

 

เพราะนิทานไม่ได้เหมาะกับเด็กเท่านั้น หลังกิจกรรม เราชวน ครูเบิร์ด-นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ คุยกันต่ออีกนิด ถึงเหตุผลที่เธอเลือกเล่าเรื่อง “พี่น้อง 999 ตัวย้ายบ้าน” ว่านอกจากความสนุกแล้ว ยังมีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง ซึ่งเรื่องนี้นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้เคยเขียนถึงเอาไว้เช่นกัน

ต่อจากเรื่องเล่า เรายังสนใจกลุ่มคิดแจ่ม ที่เป็นคณะละครไม่ประจำ แต่สามารถยืนระยะมาได้ถึง 10 ปี นี่นับว่าไม่ธรรมดา

และสุดท้ายคือพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงคุณครูและคนทำงานด้านเด็กจะนำสิ่งที่ได้จากการร่วมกิจกรรม กลับไปเล่นกับเด็กๆ ได้โดยที่ยังเป็นตัวเรา และสนุกในแบบเราเองได้อย่างไร

 

กิจกรรม “workshop เชิงสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยาเด็ก” นี้จัดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2562 ณ ห้องพลังแผ่นดิน ดีแทคเฮาส์ จามจุรีสแควร์

ร่วมจัดโดย โครงการขับเคลื่อนด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักพิมพ์ bookscape และ dtac