อ่าน ปัญหาการศึกษาไทยกับแนวทางพัฒนาอย่างสร้างสรรค์จากซัมมิต

 

bookscape ชวนอ่านคำตอบแบบสอบถามต่อยอดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม “เตรียมพร้อม เติบโต เติมเต็ม” ว่าด้วยปัญหาการศึกษาในประเทศไทย พร้อมมุมมองที่น่าสนใจที่ผู้เข้าร่วมได้จากการอ่านหนังสือ Prepared: เปิดนวัตกรรม ‘ซัมมิต’ โรงเรียนเตรียมคน พร้อมสู้อนาคต

 

เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล ครูสังคมศึกษาในระดับมัธยมปลาย

 

“ปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการติดอยู่กับกรอบหรือขนบเดิมๆ มากมายที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วาทกรรมเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องเริ่มต้นจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมเล็กๆ โดยมีครูเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และครูยังเป็นผู้ถือครองอำนาจสูงสุดในห้องเรียน”

“ปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการติดอยู่กับกรอบหรือขนบเดิมๆ มากมายที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วาทกรรมเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องเริ่มต้นจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมเล็กๆ โดยมีครูเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และครูยังเป็นผู้ถือครองอำนาจสูงสุดในห้องเรียน”

“หลักสูตรการเรียนการสอนอัดแน่นมากเกินไปทั้งในแง่ตัวชี้วัดและเด็กนักเรียนยังต้องแบกความคาดหวังจากผู้ใหญ่ที่ยึดครองระบบการศึกษา”

“ระบบการศึกษาไทยยังติดกับดักของเสรีนิยมใหม่ที่มุ่งเน้นการผลิตนักเรียนเพื่อเข้าไปตอบสนองอุตสาหกรรมต่างๆ ตามกระแส หรือแม้แต่การเน้นให้เรียนหนักแต่ขาดการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของกระบวนการเรียนรู้ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งในท้ายที่สุดนักเรียนและครูก็จะขาดกำลังใจและหมดไฟกับการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา”

“หนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจตั้งแต่ชื่อของหนังสือ ‘Prepared’ ที่หมายถึงการเตรียมพร้อมสู่เป้าหมายบางอย่างที่ตั้งไว้ และเมื่อได้อ่านที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ที่ชักชวนให้ผู้อ่านเข้าไปอยู่ใน “ซัมมิต” ซึ่งเป็นเครือโรงเรียนที่มีความพร้อมนำพาเด็กๆ ไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่วางไว้ ก็ทำให้หนังสือเล่มนี้ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม”

“นอกจากนี้ ในฐานะผู้อ่านผมยังต้องรีบสืบค้นประวัติของ Diane Tavenner ผู้วางรากฐานสำคัญของเครือซัมมิตให้กลายเป็นโรงเรียนที่ใครๆ ในสหรัฐอเมริกาก็อยากจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่นี่”

“เมื่อเปิดเข้าไปที่หน้าสารบัญก็พบว่าหนังสือมีการวางโครงสร้างอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นจากการอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของ “การสำเร็จการศึกษา” ที่ไม่ใช่เพียงแค่ “การเรียนจบ” อย่างที่ทุกคนเข้าใจ”

“Diane พยายามชี้ให้เห็นปัญหาหลายอย่างของระบบการศึกษาที่ควรได้รับการแก้ไข และนำจุดบกพร่องเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนให้กับซัมมิต กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มาจากความร่วมมือและเสียงของผู้บริหาร ครู เด็กๆ ผู้ปกครอง และชุมชน ทำให้ซัมมิตเป็นโรงเรียนที่น่าเรียนมากที่สุดแห่งหนึ่ง”

“ที่สำคัญคือ Diane อธิบายวิธีของซัมมิตผ่านการเรียนรู้แบบการจัดทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองตามแบบที่เด็กสนใจ การสะท้อนความคิดในระบบครูพี่เลี้ยง และการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

“อีกหนึ่งแง่มุมที่น่าประทับใจที่สุดคือ ในขณะที่ Diane สร้างซัมมิตขึ้นมาให้คนอื่น ครอบครัวของเธอเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างความสำเร็จให้กับซัมมิตด้วย ในฐานะที่เธอเป็นทั้งแม่และภรรยา”

“เนื้อหาทุกส่วนในหนังสือมีความสนุกและน่าติดตามว่าซัมมิตมีวิธีในการเตรียมพร้อมเด็กๆ อย่างไร แต่ส่วนที่ผมชอบมากที่สุดคือ การที่ซัมมิตไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในทุกๆ กระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบสัญลักษณ์ของโรงเรียน เพราะโดยปกติทั่วไปแล้ว อำนาจสูงสุดในโรงเรียนย่อมอยู่ในมือผู้บริหารหรือครู แต่สัญลักษณ์สุนัขฮัสกี้ของซัมมิตมีความหมายอย่างมาก เพราะมันได้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของเด็กๆ ในโรงเรียน ให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง”

“และหลักการ STP ที่ประกอบไปด้วย การระบุสถานการณ์ปัจจุบัน (Status) กำหนดเป้าหมาย (Target) และสร้างข้อเสนอ (Proposal) ทำให้เด็กๆ เข้าใจว่าการที่จะได้มาซึ่งสัญลักษณ์ของโรงเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เด็กๆ พยายามหาอัตลักษณ์ที่เหมาะสมที่สุด โดยมีทั้งไอเดียตั้งแต่รูปกระรอกซามูไรไปจนถึงนักรบทรอย จนในที่สุดก็ได้เป็นสุนัขฮัสกี้ที่สื่อถึงการฟันฝ่า การต่อสู้ ความเข้มแข็ง และความอ่อนโยนในตัวเอง ซึ่งสะท้อนถึงการเตรียมพร้อมในแบบของซัมมิต”

“หนังสือเล่มนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างเด็ก ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ได้เรียนรู้ถึงความร่วมมือเพื่อไปสู่ความสำเร็จของเด็กๆ ในท้ายที่สุด ความสำเร็จนี้ก็มาจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมาจากความร่วมมือที่ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

“หนังสือเล่มนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างเด็ก ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ได้เรียนรู้ถึงความร่วมมือเพื่อไปสู่ความสำเร็จของเด็กๆ ในท้ายที่สุด ความสำเร็จนี้ก็มาจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมาจากความร่วมมือที่ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

“หนังสือเล่มนี้ยังย้ำเตือนอยู่เสมอว่าทุกอย่างเป็นไปได้หากมีโอกาสและประสบการณ์ นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังช่วยส่งเสริมให้วงการการศึกษาไทยได้เป็นนักอนาคตศึกษา (Futurist) ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่วันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่ยังมองไกลไปถึงทักษะและกระบวนการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เพื่อความเข้าใจในความต้องการของเจเนอเรชั่นถัดๆ ไปด้วย”

“หนังสือเล่มนี้จะสร้างประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของผมในฐานะครู เพราะหน้าที่ของครูไม่ได้มีเพียงแค่การสอนหรือถ่ายทอดความรู้แก่เด็กๆ เพียงอย่างเดียว แต่ครูยังต้องเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้เด็กๆ ได้เลือกทางเดินที่เหมาะสมสำหรับพวกเขา”

“หนังสือเล่มนี้จะสร้างประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของผมในฐานะครู เพราะหน้าที่ของครูไม่ได้มีเพียงแค่การสอนหรือถ่ายทอดความรู้แก่เด็กๆ เพียงอย่างเดียว แต่ครูยังต้องเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้เด็กๆ ได้เลือกทางเดินที่เหมาะสมสำหรับพวกเขา”

“หนังสือเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ครูและนักการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนวงการศึกษาต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง การเรียนที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันอาจไม่เหมาะสมกับเด็กอีกต่อไป ครูต้องมองข้ามกรอบเดิมๆ และทำให้เด็กๆ ได้เห็นชีวิตที่มีความมั่นคงหลังจบการศึกษา”

“องค์ความรู้ที่ได้จากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เช่น การเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงาน (Project-Based Learning) การกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการสะท้อนคิดผ่านการเป็นครูพี่เลี้ยง จะเป็นแนวทางที่ดีในการนำไปปรับใช้กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นองค์ความรู้ที่มีความเหมาะสมกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน การนำไปบูรณาการกับทักษะที่มีความสำคัญในศตวรรษที่ 21 เช่น การใช้เทคโนโลยี การออกแบบกระบวนการคิด และส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง เพื่อให้การเรียนรู้ทุกวันของเด็กๆ มีความหมาย และสำเร็จการศึกษาไปได้อย่างมีคุณค่า”

 

ภาคภูมิ ใจยา Co-Founder ของบริษัท เดอะแฟลชโซลูชั่น จำกัด

 

“การพัฒนาเด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เด็กต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมกับวัย ไม่ไวเกินไป กดดันเกินไป และช้าเกินไป นอกจากนี้การศึกษาต้องนำชีวิตประจำวันมาปรับใช้เพื่อให้เด็กมีทักษะสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ซึ่งในจุดนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ในการศึกษาไทย”

“จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผมอยากมองหาวิธีแก้ปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ และซัมมิตนับเป็นต้นแบบที่ดีและมีคุณภาพ สิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นคือการที่เด็กมีความสุขกับการเรียน และสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน”

“ความประทับใจที่ผมมีต่อหนังสือเล่มนี้คือ ผมรู้สึกเหมือนได้มองเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ จึงอยากให้ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านที่ทำงานอยู่ในวงการการศึกษามองเห็นคุณค่าของหนังสือเล่มนี้บ้าง แล้วนำบริบทเหล่านี้ไปปรับใช้กับการศึกษาของไทย โดยอยากให้มองว่า อย่างน้อยๆ การเปลี่ยนแปลงวงการการศึกษาในครั้งนี้ก็เพื่อเด็กที่เป็นอนาคตของชาติ และเป็นพลเมืองของโลกในอนาคต”

“ผมรู้สึกว่าตัวอย่างของซัมมิตในการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็ก เพราะหนึ่งในสาเหตุหลักของเด็กที่เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นเพราะว่าเด็กไม่รู้ว่าจะต้องนำเนื้อหาที่คุณครูสอนไปใช้ในชีวิตปะจำวันอย่างไร และที่สำคัญคือการปรับบริบทจากครูเป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษาในชั้นเรียน ไม่กำหนดกรอบความเห็นของเด็ก การทำแบบนี้จะช่วยสะท้อนความคิดเด็ก และยังเป็นการฝึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เด็กควรมีอีกด้วย”

“การรับฟังเสียงของเด็ก เสียงของพ่อแม่ เสียงของคุณครูที่ทำหน้าที่เป็นโค้ช เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องปรับใช้อย่างเร่งด่วน เพราะการจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นควรได้รับความร่วมมือจากทั้งสามฝ่าย อันประกอบด้วย เด็ก พ่อแม่ และครู หนังสือเล่มนี้จะค่อยๆพลิกวงการการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมไทยมากขึ้น และบุคคลที่จะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คือตัวเด็กเองที่กำลังเติบโต”

“การรับฟังเสียงของเด็ก เสียงของพ่อแม่ เสียงของคุณครูที่ทำหน้าที่เป็นโค้ช เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องปรับใช้อย่างเร่งด่วน เพราะการจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นควรได้รับความร่วมมือจากทั้งสามฝ่าย อันประกอบด้วย เด็ก พ่อแม่ และครู หนังสือเล่มนี้จะค่อยๆพลิกวงการการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมไทยมากขึ้น และบุคคลที่จะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คือตัวเด็กเองที่กำลังเติบโต”

“ในมุมมองของการนำไปใช้ในองค์กร ผมมองว่าสิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และทดลองลงมือทำ เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา หนังสือเล่มนี้จะเป็นแสงเทียนที่ส่องแสงสว่างให้กับวงการการศึกษาไทยมากกกว่าเดิม”

“การเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษาของไทย และการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้มาออกแบบการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อดึงศักยภาพของเด็กให้มากขึ้น ถือเป็นการทำงานในองค์กรที่ต้องการยกระดับการศึกษาในประเทศไทย เมื่อลงมือทำสำเร็จถือเป็นความสำเร็จขององค์กรและเป้าหมายในชีวิตที่ต้องการเด็กได้เรียนรู้ และลงมือทำในสิ่งที่อยากเรียนรู้ และมีทักษะในการเอาตัวรอดได้”

“การเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษาของไทย และการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้มาออกแบบการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อดึงศักยภาพของเด็กให้มากขึ้น ถือเป็นการทำงานในองค์กรที่ต้องการยกระดับการศึกษาในประเทศไทย เมื่อลงมือทำสำเร็จถือเป็นความสำเร็จขององค์กรและเป้าหมายในชีวิตที่ต้องการเด็กได้เรียนรู้ และลงมือทำในสิ่งที่อยากเรียนรู้ และมีทักษะในการเอาตัวรอดได้”

 

กิตติ มีชัยเขตต์ นักออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะการแสดงประยุกต์

“วงการการศึกษามีปัญหาเรื่องการให้ความสำคัญที่มากเกินไปกับการประเมิน/วัดผล ที่ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงตัวผู้เรียน ตัววิชา หรือตัวผู้สอน เหมือนว่าการประเมิน/วัดผลเพียงทำไปอย่างนั้น”

“จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาผมพบว่า วงการการศึกษามีปัญหาเรื่องการให้ความสำคัญที่มากเกินไปกับการประเมิน/วัดผล ที่ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงตัวผู้เรียน ตัววิชา หรือตัวผู้สอน เหมือนว่าการประเมิน/วัดผลเพียงทำไปอย่างนั้น”

“อีกส่วนหนึ่งของปัญหาคือ โครงสร้างที่ขับเคลื่อนการทำงานของสถาบันการศึกษาไทยในปัจจุบันยังยากต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ มีโครงสร้างที่เป็นระบบระดับขั้น ที่การประชุมหรือมติในการประชุมจากกรรมการชุดเล็กไม่ได้มีความหมายใดเมื่อเข้าสู่การประชุมที่ใหญ่กว่า ซึ่งเหล่าหัวหน้ามีแนวทางของตนเองเป็นหลักอยู่แล้ว ซ้ำร้ายเสียงสะท้อนจากผู้เรียนมักถูกใช้อ้างอิงเมื่อเห็นว่ามีประโยชน์ต่อแนวทางของอาจารย์หรือหัวหน้างานเท่านั้น ไม่ใช่ในฐานะการเป็นเสียงสะท้อนเพื่อหาทางแก้ไขหรือพัฒนาแต่อย่างใด”

“โดยส่วนตัวผมชอบหนังสือเล่มนี้ในส่วนทำที่ให้เด็กได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพราะมันสำคัญมากในสังคมไทยที่เข้าใจผิดว่าการเรียนรู้เป็นภาระของโรงเรียนที่ต้องจัดการเพียงอย่างเดียว”

 

ศราวุธ จอมนำ อาจารย์

 

“หลักๆ แล้วในฐานะอาจารย์ผมพบว่าปัญหาในวงการการศึกษาไทยประกอบไปด้วย ความไร้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ในห้องเรียน ครูเพียงมุ่งสอนให้จบตามเนื้อหา แต่ไม่ได้มุ่งสร้างการเรียนรู้ นอกจากนี้ เนื่องจากในหนึ่งห้องเรียนประกอบด้วยความหลากหลาย ครูจึงเตรียมการสอนแบบกลางๆ ทำให้นักเรียนในห้องจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง เช่น เด็กที่ไปได้เร็วกว่าบทเรียนหรือเด็กที่ตามบทเรียนไม่ทัน”

“ค่านิยมที่มุ่งแข่งขัน เอาชนะ และให้คุณค่ากับความเก่ง (ที่ประเมินจากคะแนน) ทำให้เด็กส่วนใหญ่มาเรียนเพราะไม่อยากถูกหักคะแนน ส่งงานเพื่อให้มีคะแนน หรือแม้แต่จำวิธีทำหรือเทคนิคการทำข้อสอบเพื่อคะแนน นักเรียนไทยไม่ได้มาโรงเรียนและทำสิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน”

“บรรยากาศและค่านิยมทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน และสังคมก็เป็นปัญหาเช่นกัน ค่านิยมที่มุ่งแข่งขัน เอาชนะ และให้คุณค่ากับความเก่ง (ที่ประเมินจากคะแนน) ทำให้เด็กส่วนใหญ่มาเรียนเพราะไม่อยากถูกหักคะแนน ส่งงานเพื่อให้มีคะแนน หรือแม้แต่จำวิธีทำหรือเทคนิคการทำข้อสอบเพื่อคะแนน นักเรียนไทยไม่ได้มาโรงเรียนและทำสิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน”

“นอกจากนี้โครงสร้างในโรงเรียนยังแข็งตัว มีการขีดเส้นแบ่งเนื้อหากันอย่างชัดเจนโดยสถาปนาเป็นหมวดวิชา กลุ่มสาระ ฯลฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบทเรียนบูรณาการข้ามศาสตร์ วิธีคิดแบบเน้นความเท่าเทียม (Equality) ที่เน้นให้ทุกคนได้รับทุกอย่างเท่ากัน เหมือนกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน และให้เวลาเท่ากัน ยังคงฝังแน่นทั้งในการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ หรือนโยบายในโรงเรียน”

“การบริหารจัดการในโรงเรียนที่ไม่ยืดหยุ่น มีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยไม่ได้ตั้งคำถาม ยึดติดกับความคุ้นเคยและสืบทอดการปฏิบัตินั้นต่อไป แม้หลายอย่างจะขัดต่อกฎหมายการศึกษาก็ตาม”

“การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เน้นความเร็วในการทำข้อสอบก็สร้างปัญหาเช่นกัน เพราะการเน้นความเร็วเช่นนี้ทำให้เด็กหลึกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอาศัยการติวและการจำเทคนิคการทำข้อสอบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา สองประเด็น คือ เด็กซิ่ว โดยส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่สอบเข้าเรียนได้จำนวนหนึ่งไม่ได้มีความสามารถตามที่คณะ/สาขานั้นๆ ต้องการ และไม่สามารถเรียนต่อจนจบหลักสูตรได้ และประเด็นความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือ เด็กที่มีฐานะและอยู่ในเมืองจะมีโอกาสเข้าถึงการติวสอบมากกว่าเด็กยากจนหรือเด็กที่อยู่ต่างจังหวัด”

“หนังสือเล่มนี้มีประเด็นที่น่าสนใจจากประโยคที่บอกว่า ‘นี่คือหนทางที่จะทำให้ผู้ปกครองคลายความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของบุตรหลาน’”

“หนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นที่มาที่ไปของการตั้งโรงเรียนและธรรมชาติของการจัดการศึกษาของสหรัฐฯ และเล่าแนวทางของโรงเรียนผ่านเรื่องราวจริง หนังสือเล่มนี้จึงน่าอ่านมากกว่าหนังสือที่มีแต่ทฤษฎีล้วน เพราะสิ่งที่คนในแวดวงการศึกษาต้องการจริงๆ คือตัวอย่างและบทเรียนจากเหตุการณ์จริง ในหนังสือเล่มนี้เราจะได้เห็นตั้งแต่การล้มลุกคลุกคลานไปจนถึงการประสบความสำเร็จ”

“หนึ่งในประเด็นที่ชอบในหนังสือเล่มนี้คือ บาร์ติวเตอร์ ที่ไม่ได้มองว่าห้องเรียนเป็นแค่สถานที่บังคับให้เด็กมานั่งฟังครูหรือทำกิจกรรมตามที่ครูบอก แต่เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งของการเรียนรู้เท่านั้น มุมมองแบบนี้เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เลือกการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ตัวเองได้”

“ถ้าบุคลากรทางการศึกษาเข้าถึงหนังสือเล่มนี้ได้ทุกคน (เข้าถึง หมายถึงได้อ่าน ได้ฟังคนเล่า เข้าร่วมกิจกรรม ฯลฯ แล้วเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ พร้อมกับพิจารณาสภาพปัจจุบันของตัวเอง) หนังสือเล่มนี้จะช่วยเปิดหูเปิดตาให้มองเห็นความเป็นไปได้ในอนาคตของวงการการศึกษาไทย”

“ด้วยการที่หนังสือเป็นแหล่งอ้างอิงที่เขียนมาจากประสบการณ์จริง จึงเหมาะสำหรับโรงเรียน ครู ผู้บริหาร หรือแม้แต่สถาบันผลิตครู ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา”

“หนังสือเล่มนี้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ชั้นดีชิ้นหนึ่งที่ยืนยันว่าการพัฒนาโรงเรียนสักแห่งหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ จะทำได้ก็ต่อเมื่อกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงอย่างผู้ปกครองและครูเกิดความต้องการที่ตรงกัน แล้วเรียกร้องและลงมือทำด้วยกัน ไม่ได้เกิดจากการสั่งการจากบนลงล่างหรือโยนงานกันไปมาเหมือนที่เป็นในปัจจุบัน”

“ความสำเร็จของโรงเรียนซัมมิตช่วยยืนยันว่า Personalized Competency-Based Education สามารถทำได้จริง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและปัจจัยบางอย่าง ซึ่งในบริบทของสังคมไทยยังต้องเตรียมความพร้อมอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านหลักคิด และค่านิยม”

“ความสำเร็จของโรงเรียนซัมมิตช่วยยืนยันว่า Personalized Competency-Based Education สามารถทำได้จริง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและปัจจัยบางอย่าง ซึ่งในบริบทของสังคมไทยยังต้องเตรียมความพร้อมอีกมากมาย โดยเฉพาะด้านหลักคิด และค่านิยม”

 

 

 

อ่านรายละเอียดหนังสือและสั่งซื้อได้ที่นี่

Prepared: เปิดนวัตกรรม ‘ซัมมิต’ โรงเรียนเตรียมคน พร้อมสู้อนาคต

Diane Tavenner เขียน

รสลินน์ ทวีกิตติกุล แปล

304 หน้า