vdo: The Art of Screen Time: หน้าจอ-โลกจริง สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล

ในโลกยุคดิจิทัล หน้าจอกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนทั้งในที่ทำงานและพื้นที่ส่วนตัวและแทรกซึมอยู่ในแทบทุกแง่มุมชีวิตของคนยุคใหม่ แน่นอนว่าเทคโนโลยีทุกอย่างไม่ได้มีเพียงแง่มุมเดียว หน้าจอก็เช่นกัน จะให้โทษหรือประโยชน์นั้นก็ขึ้นอยู่กับ ‘ศิลปะการใช้หน้าจอ’ ของเรา

bookscape จึงชวนผู้เกี่ยวข้องในหลากหลายวงการ มาร่วมตอบคำถามเกี่ยวกับศิลปะใหม่ของการใช้หน้าจอในครอบครัว ทำความเข้าใจว่าเราต้องใช้หน้าจอแค่ไหนและอย่างไรจึงจะสมดุลและเป็นผลดี เพื่อป้องกันผลร้ายต่อเด็กๆ และยังช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของลูก เปิดโอกาสในการใช้ชีวิตของพ่อแม่ รวมทั้งสานสัมพันธ์ในครอบครัว

พูดคุยกับ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ในประเด็นหน้าจอกับการเรียนรู้แบบ Active Learning

  • พ่อแม่สามารถจัดการสื่อสร้างสรรค์ให้กับลูกได้อย่างไรบ้าง
  • Active Learning สามารถเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร
  • แนวคิดจากเล่ม “The Art of Screen Time” ที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้ได้จริง

ชวน ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตอบคำถามที่ว่า ครอบครัวยุคใหม่จะสามารถอยู่กับหน้าจอและโลกจริงแบบสมดุลได้อย่างไร?

  • สถานการณ์การใช้หน้าจอของเด็กไทยในปัจจุบัน
  • ปัญหาการใช้หน้าจอในสถานศึกษาเพื่อประกอบการเรียนการสอน
  • ผู้ใหญ่สามารถช่วยเด็กในการสร้างสมดุลกับหน้าจอได้อย่างไรบ้าง
  • ครอบครัวยุคใหม่สามารถนำแนวคิดจากหนังสือ “หน้าจอ-โลกจริง” (The Art of Screen Time) มาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง

การใช้สื่อเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีในสังคม สามารถทำอย่างไรได้บ้าง? ชวนฟังแง่มุมจากคุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

  • เด็กสามารถใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้และรู้เท่าทันสื่อได้อย่างไร
  • ความแตกต่างของการใช้สื่อในแต่ช่วงวัย ควรมีสะพานเชื่อมอย่างไรบ้าง
  • ครอบครัวยุคใหม่สามารถนำแนวคิดจากหนังสือ “หน้าจอ-โลกจริง” (The Art of Screen Time) มาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง

ทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้หน้าจอของครอบครัวในยุคดิจิทัลมีอะไรบ้าง? ชวนครอบครัวยุคใหม่ฟังแง่มุมชวนคิดจาก ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO-Co-Founder ZTRUS, บอร์ดบริหาร DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association

  • ทักษะการใช้หน้าจอและการใช้สื่อแบบใด ที่คนยุคปัจจุบันควรมีติดตัว
  • พ่อแม่จะสร้างทักษะบริหารจัดการข้อมูลให้ลูกได้อย่างไรบ้าง
  • เราจะสร้างความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ในโลกยุคใหม่ได้อย่างไร
  • การเรียนผ่านหน้าจอหรือการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้อย่างไร
  • แนวทางการใช้หน้าจอและการใช้สื่อที่วงการศึกษาไทยควรหันมาให้ความสำคัญมีเรื่องใดบ้าง

เราจะสร้างสมดุลใหม่ของครอบครัวบนหน้าจอ-โลกจริงได้อย่างไรบ้าง? ชวนฟังแง่มุมจาก ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร (คุณหมอโอ๋) กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ในประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงในยุคปัจจุบัน

  • แนวทางในการเคารพพื้นที่โซเชียลมีเดียของกันและกันภายในครอบครัว
  • เมื่อเห็นว่าคนในครอบครัวใช้เวลากับหน้าจอมากไป ควรสื่อสารหรือทำอย่างไร เพื่อหาสมดุลในโลกจริงมากขึ้น
  • เมื่อลูกอยากใช้สื่อโซเชีลมีเดียตามเพื่อน พ่อแม่จะมีวิธีรับมืออย่างไร
  • เราจะใช้หน้าจอเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อย่างไร

ชมเทปบันทึกภาพเสวนาสาธารณะ “The Art of Screen Time: หน้าจอ-โลกจริง: สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล”

จัดโดยโครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ร่วมกับสำนักพิมพ์ bookscape