[su_note note_color=”#fdfde5″]นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชวนอ่านหนังสือ Jim Trelease’s Read-Aloud Handbook (8th Edition): พลังแห่งการอ่านออกเสียง เขียนโดย จิม เทรลีส บรรณาธิการฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 8 โดย ซินดี จิออร์จิส แปลโดย อสมาพร โคมเมือง และจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป
การอ่านออกเสียงมีประโยชน์อย่างไร สำคัญแค่ไหน และต้องทำอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบผ่านหนังสือเล่มดังของโลก ที่บรรจุงานวิจัยที่น่าสนใจไว้มากมาย ขยายความและตีความโดยนายแพทย์ผู้คร่ำหวอดและทำงานสนับสนุนการอ่านหนังสือให้เด็กฟังในประเทศไทยมาเนิ่นนาน[/su_note]
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ตอนที่ 14 สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ
เมื่อเริ่มต้น
“เริ่มต้นอ่านออกเสียงได้ตั้งแต่เกิด”
เลือกหนังสือที่มีคำคล้องจอง
เลือกหนังสือที่มีเพียง 1-3 ประโยคในหนึ่งหน้า แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น รูปค่อยๆ น้อยลง จนกระทั่งถึงวรรณกรรมเยาวชนในที่สุด
เมื่อเลือกหนังสือ
เลือกทั้ง 3 อย่าง บันเทิงคดี สารคดี กวีนิพนธ์
เลือกที่เนื้อหาไม่ยาวเกินไป ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามความสามารถที่เด็กจะจินตนาการได้
เลือกหนังสือที่ง่ายไว้ก่อน แต่ไม่ผิดที่จะเลือกหนังสือที่ท้าทาย
“เคารพการเลือกของเด็กเองด้วย เขาเลือกคือเขาชอบแม้ว่าเราจะไม่ชอบ”
เด็กหลายคนอายุต่างๆ กันอาจจะต้องพิถีพิถันหาที่ทุกคนฟังได้พร้อมกันหมด แล้วแยกอ่านรายคนอีกที
เมื่อเริ่มต้น
อ่านทุกคืน การเว้นระยะการอ่านนานมากเกินไปเป็นผลเสีย
ไม่เริ่มด้วยการออกคำสั่ง “นั่งนิ่งๆ!”
ถ้าเด็กบางคนยุกยิกมาก ไม่ผิดกติกาที่จะวางกระดาษเปล่าและดินสอสีให้เขาทำข้างๆ
เมื่ออ่าน
อ่านชื่อผู้เขียน ผู้วาด ทุกครั้ง
ให้เวลากับหน้าปกสักนิดหนึ่ง
ให้เวลากับรูปภาพในแต่ละหน้าสักนิดหนึ่งก่อนเริ่มอ่าน
ทำเสียงเร้าอารมณ์
หยุดตรงที่น่าตื่นเต้นสักพักหนึ่ง
ถามเด็กเล็กๆ น้อยๆ ได้
ถ้าหมดเวลา พยายามหยุดที่หน้าตื่นเต้น
ใครอ่าน
กระตุ้นให้พ่ออ่าน เพราะครูส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เด็กชายจะรับรู้ได้ว่าผู้ชายก็อ่าน
พี่อ่านให้น้องฟัง เราไม่ห้าม
กระตุ้นให้ญาติที่ชอบแชตมาอ่านให้ลูกฟัง
มีเวลาอิสระให้เด็กๆ หยิบหนังสือมาลูบคลำ ดูรูปและอ่านเอง
และโปรดจำไว้ว่า
“การอ่านมิได้สำเร็จชั่วข้ามคืน”
ให้เด็กพกหนังสือไปทุกที่
อ่านตรงเวลาดีกว่าอ่านไม่ตรงเวลา
เรื่องที่ไม่ควรทำ
“อย่าทนอ่าน ถ้าไม่สนุก”
อย่าเลือกหนังสือที่มีบทสนทนามากไป เพราะคนฟังไม่รู้เรื่องด้วยว่าใครพูด
อย่าเลือกหนังสือที่มีการสร้างเป็นหนังไปแล้วเพราะเด็กจะสนใจน้อยกว่า
อย่าโดนหลอกเพราะรางวัลที่หนังสือได้รับ เปิดใจให้กว้าง
อย่ายึดติดกับการอ่านเพื่อวิชาการ
อย่าเริ่มต้นอ่านถ้ามีเวลาเหลือสั้นมาก เด็กจะหงุดหงิด
อย่าเบื่อที่จะตอบคำถาม การอ่านยังมีเวลา แต่การถามมีเวลาที่เขาจะทำไม่มากนัก
อย่าตีความเนื้อเรื่องหรือสรุปความ ถามได้ว่าเด็กๆ คิดอย่างไร
อย่าสับสนระหว่างปริมาณและคุณภาพ
อย่าขู่เด็กด้วยการบอกว่า “ถ้าไม่ทำ จะไม่อ่านหนังสือ”
อ่าน ‘Read-Aloud Handbook’ มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง ย้อนหลังได้ที่นี่
Read-Aloud Handbook (8th Edition): พลังแห่งการอ่านออกเสียง
Cyndi Giorgis เขียน
อสมาพร โคมเมือง แปล
488 หน้า
อ่านตัวอย่างหนังสือและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่