bookscape ชวนคุณพ่อคุณแม่ร่วมออกผจญภัย โบยบินไปในจินตนาการและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในหัวใจให้กับเหล่าลูกน้อย ใน ครอบครัวอ่านออกเสียง (Read-Aloud Family) สานสัมพันธ์ที่ยั่งยืน สร้างนักอ่านตัวยง ด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
ผลการวิจัยชี้ว่า ยิ่งพ่อแม่อ่านออกเสียงให้เด็กๆ ฟัง คะแนนสอบของเด็กๆ ก็จะยิ่งสูงขึ้น การอ่านออกเสียงช่วยเพิ่มความสำเร็จด้านการศึกษาของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าการจ้างครูสอนพิเศษแสนแพง หรือแม้กระทั่งการศึกษาในโรงเรียนเอกชน นั่นก็เพราะการอ่านออกเสียงมีประโยชน์ด้านการเรียนรู้สามประการ ดังนี้
การเพิ่มวงศัพท์และรูปแบบภาษาขั้นสูง
การได้ยินคำที่ไม่ปรากฏในบทสนทนาทั่วไปนั้นขยายวงศัพท์ของเด็กได้เร็วและดียิ่งกว่าวิธีอื่นใด เด็กจะได้ยินคำพร้อมกับบริบท และมักอนุมานความหมายได้โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม ถ้ามีคนอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง เด็กๆ สามารถฟังเรื่องราวที่มีคำศัพท์ซับซ้อนเกินกว่าที่พวกเขาจะอ่านได้ด้วยตัวเอง
ความสามารถในการเชื่อมโยง (หรือความเข้าใจในการอ่าน)
เราทำหน้าที่ถอดรหัสภาษาให้ลูกๆ ขณะอ่านออกเสียง โดยรับหน้าที่สรรหาจังหวะ ท่วงทำนอง และน้ำเสียงที่ถูกต้องสำหรับข้อความแต่ละบรรทัด ลูกๆ จะได้ไม่ต้องมาพยายามสะกดคำและทำความเข้าใจถ้อยคำที่เรียงรายอยู่ แต่จะได้มีโอกาสได้ใช้พลังงานสมองกับเรื่องอื่น ทั้งเพลิดเพลินกับเรื่องราวและเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ฟังกับองค์ความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว
นิสัยรักการอ่าน
เมื่อเราเน้นปลูกฝังให้เด็กๆ รักเรื่องราว เราจะได้เด็กที่ทั้งอ่านได้และอ่านเป็นนิสัย ถ้าเป็นไปได้เราก็ต้องการให้ลูกๆ ตกหลุมรักเรื่องราวก่อนจะสอนอักษรแรกๆ ด้วยซ้ำ เพราะสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการประสมเสียง ความเข้าใจ การวิเคราะห์ หรือแม้แต่การเขียน จะง่ายขึ้นมากเมื่อเด็กรักหนังสือ
เมื่ออ่านออกเสียง เราได้มอบคลังสมบัติที่เต็มไปด้วยคำศัพท์ล้ำเลิศและรูปแบบภาษาขั้นสูงให้กับลูกๆ เรามอบโอกาสให้พวกเขาได้ฝึกเชื่อมโยงและใช้ความคิด และที่วิเศษสุดก็คือ เราช่วยให้พวกเขาตกหลุมรักการอ่าน เป็นความรักที่จะเอื้อประโยชน์ต่อพวกเขาไปตลอดชีวิต
นอกจากเรื่องการเรียนรู้แล้ว อีกประเด็นที่พ่อแม่หลายคนเป็นห่วงก็คือ การที่ลูกไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง พ่อแม่วางแผนการมากมายเพื่อแก้ปัญหานี้ เช่น สมัครเรียนศิลปะป้องกันตัว เข้าทีมว่ายน้ำ หรือเรียนศิลปะ พ่อแม่คิดว่าคำตอบที่ดีที่สุดคือการลากลูกไปทำกิจกรรมนู่นนี่เพิ่มขึ้น เพราะเด็กๆ จะได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านใดด้านหนึ่งจนเก่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดร.เม็ก มีเกอร์ (Meg Meeker) กุมารแพทย์ชาวอเมริกัน คิดว่านั่นไม่ใช่วิธีการที่ดีในการส่งเสริมให้เด็กมองเห็นคุณค่าของตัวเอง เธอแนะว่าเด็กจะมีโอกาสมองเห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้นถ้าเชื่อว่าพ่อแม่ชื่นชอบและอยากใช้เวลาร่วมกับพวกเขา ดังนั้นทางเลือกที่ดีกว่าคือการใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีความสุข และสื่อสารอย่างชัดเจนว่าชอบอยู่กับพวกเขา วิธีนี้ทั้งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและทำได้ง่ายกว่าการลากลูกไปส่งตามชั้นเรียนหรือสโมสรต่างๆ รอบเมือง อาจจะหยิบไพ่อูโนมาสักชุดและใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงนั่งล้อมวงพลางดื่มโกโก้ร้อนกับลูกวัยย่างเข้าวัยรุ่น หรืออีกวิธีง่ายๆ ก็คือการอ่านออกเสียง
สิ่งที่กีดขวางไม่ให้เราสร้างสายสัมพันธ์กับลูกๆ อย่างมีความหมายและยั่งยืน ไม่ใช่เพราะเราขาดแรงจูงใจหรือแรงผลักดัน แต่เป็นเพราะแนวโน้มเจ้ากรรมของเราที่ชอบทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก
การอ่านออกเสียงก็เช่นกัน เรามักมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการอ่านหนังสือร่วมกับลูก ซึ่งทำให้การอ่านออกเสียงกับพวกเขากลายเป็นเรื่องยากกว่าที่ควร ความเชื่อเหล่านี้ได้แก่
- ถ้าอยากอ่านออกเสียงให้ได้ผลและเกิดความเปลี่ยนแปลง ต้องทำบ่อยๆ- ที่จริงแล้วอ่านนิดหน่อยวันเว้นวันก็ได้ผลแล้ว
- ถ้าพ่อแม่ไม่ได้อ่านเองก็ไม่นับว่าเป็นการอ่านออกเสียง- ที่จริงแล้วหนังสือเสียงก็ให้ประโยชน์เหมือนการอ่านออกเสียงเช่นกัน
- หนังสือเนื้อหาเบาๆ ไม่นับเป็นการอ่านหนังสือ- ที่จริงแล้วหนังสือทุกประเภทล้วนมีบทบาทและส่งเสริมการอ่านของเด็กๆ ได้
- เด็กควรนั่งนิ่งๆ ขณะที่เราอ่านหนังสือให้ฟัง- ที่จริงแล้วเด็กหลายคนมีสมาธิฟังได้ดีขึ้นเมื่อได้ขยับตัวไปมา
- ถ้าดูไม่เหมือนที่จินตนาการไว้ก็แสดงว่าเราคงทำอะไรผิดเป็นแน่- ที่จริงแล้วช่วงเวลาอ่านออกเสียงไม่เหมือนกับภาพที่เราคิดไว้เสมอไปหรอก บางครั้งลูกๆ ก็หยุกหยิก บางครั้งก็มีสิ่งรบกวนแทรกเข้ามา แต่แม้เมื่อไม่เป็นอย่างใจคิด การอ่านออกเสียงก็ยังให้ผลดีคุ้มค่าเสมอ
เลิกยึดถือความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการอ่านออกเสียงซึ่งจะทำให้เราลงเอยด้วยความหงุดหงิดที่ภาพหรือความรู้สึกไม่ได้เป็นอย่างที่คิดไว้ แล้วหันมาเปิดรับการอ่านออกเสียงอย่างเป็นธรรมชาติและตามความเป็นจริง ที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญก็คือการได้ใช้เวลาสบายๆ ร่วมกับลูกๆ เพื่อยืนยันกับพวกเขาว่าเรามีความสุขเหลือเกินเมื่อได้อยู่กับพวกเขา
เมื่อเห็นประโยชน์ของการอ่านออกเสียง และขจัดความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการอ่านออกเสียงไปได้แล้ว พ่อแม่หลายคนน่าจะเริ่มสนใจอยากอ่านออกเสียงให้ลูกฟัง แต่คำถามแรกๆ ที่ที่มักผุดขึ้นมาในหัวพ่อแม่ก่อนก็คือ “จะเลือกหนังสือเล่มไหนอ่านออกเสียงให้ลูกดีล่ะ”
เราต่างมีรสนิยมและความชอบส่วนตัวเรื่องหนังสือ เช่นเดียวกับที่เรามีรสนิยมและความชอบเรื่องอาหาร ครอบครัวเราอาจโปรดปรานหนังสือสักเล่ม แต่คนรักหนังสือที่เราชื่นชอบกลับไม่นิยมหนังสือเล่มเดียวกัน เพื่อนรักนักอ่านของเราอาจสรรเสริญหนังสือสักเล่ม แต่เรากลับเบื่อหน่ายหนังสือเล่มนั้นเหลือเกิน
จิม ไวส์ (Jim Weiss) นักเล่าเรื่องชื่อดังและนักอ่านหนังสือเสียงหลายร้อยเรื่องของบริษัทเกรตฮอลล์โปรดักชั่นส์ (Greathall Productions) เคยบอกว่ากฎสำคัญข้อแรกเกี่ยวกับการเล่าเรื่องคือ เราซึ่งเป็นผู้เล่าต้องชอบเรื่องนั้นด้วย “กฎข้อแรกซึ่งห้ามละเมิด” เขาบอก “คือคุณต้องเล่าหรืออ่านออกเสียงเฉพาะเรื่องที่คุณเองก็ชอบ ถ้าคุณเล่าเรื่องที่คุณไม่ชอบ ลูกๆ จะสัมผัสได้ และการอ่านออกเสียงก็จะไม่ได้ผล”
เพราะฉะนั้น เราจึงเลิกอ่านออกเสียงหนังสือที่เราคิดว่าไม่สนุก ต่อให้มันจะอยู่ในรายชื่อหนังสือแนะนำทุกรายชื่อ ต่อให้เพื่อนสนิทบอกว่าเป็นหนังสือดีที่สุดเท่าที่เธอเคยอ่าน
โลกนี้มีหนังสือดีๆ มากมาย เราควรทำให้เวลาอ่านออกเสียงของครอบครัวเต็มไปด้วยความทรงจำอันอบอุ่นและงดงาม ไม่อยู่ใต้เงามืดของความรู้สึกจำใจหรือคับข้องใจ
เราทุกคนไม่ได้ชื่นชอบหนังสือเล่มเดียวกัน เป็นเรื่องดีไม่ใช่หรือที่เราแต่ละคนล้วนแตกต่างจากคนอื่น อย่าทะเลาะกันเรื่องนี้ แต่ขอให้โอบรับมัน เลิกอ่านหนังสือที่ไม่เหมาะกับการอ่านออกเสียงของเรา ความสนุกสนานสำคัญมากเมื่ออ่านหนังสือร่วมกับลูกๆ
ผลการวิจัยชี้ว่า ยิ่งพ่อแม่อ่านออกเสียงให้เด็กๆ ฟัง คะแนนสอบของเด็กๆ ก็จะยิ่งสูงขึ้น การอ่านออกเสียงช่วยเพิ่มความสำเร็จด้านการศึกษาของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าการจ้างครูสอนพิเศษแสนแพง หรือแม้กระทั่งการศึกษาในโรงเรียนชั้นนำ นั่นก็เพราะการอ่านออกเสียงมีประโยชน์ด้านการเรียนรู้สามประการ ดังนี้
1. การเพิ่มวงศัพท์และรูปแบบภาษาขั้นสูง
การได้ยินคำที่ไม่ปรากฏในบทสนทนาทั่วไปนั้นขยายวงศัพท์ของเด็กได้เร็วและดียิ่งกว่าวิธีอื่นใด เด็กจะได้ยินคำพร้อมกับบริบท และมักอนุมานความหมายได้โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม ถ้ามีคนอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง เด็กๆ สามารถฟังเรื่องราวที่มีคำศัพท์ซับซ้อนเกินกว่าที่พวกเขาจะอ่านได้ด้วยตัวเอง
2. ความสามารถในการเชื่อมโยง (หรือความเข้าใจในการอ่าน)
เราทำหน้าที่ถอดรหัสภาษาให้ลูกๆ ขณะอ่านออกเสียง โดยรับหน้าที่สรรหาจังหวะ ท่วงทำนอง และน้ำเสียงที่ถูกต้องสำหรับข้อความแต่ละบรรทัด ลูกๆ จะได้ไม่ต้องมาพยายามสะกดคำและทำความเข้าใจถ้อยคำที่เรียงรายอยู่ แต่จะได้มีโอกาสได้ใช้พลังงานสมองกับเรื่องอื่น ทั้งเพลิดเพลินกับเรื่องราวและเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ฟังกับองค์ความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว
3. นิสัยรักการอ่าน
เมื่อเราเน้นปลูกฝังให้เด็กๆ รักเรื่องราว เราจะได้เด็กที่ทั้งอ่านได้และอ่านเป็นนิสัย ถ้าเป็นไปได้เราก็ต้องการให้ลูกๆ ตกหลุมรักเรื่องราวก่อนจะสอนอักษรแรกๆ ด้วยซ้ำ เพราะสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการประสมเสียง ความเข้าใจ การวิเคราะห์ หรือแม้แต่การเขียน จะง่ายขึ้นมากเมื่อเด็กรักหนังสือ
เมื่ออ่านออกเสียง เราได้มอบคลังสมบัติที่เต็มไปด้วยคำศัพท์ล้ำเลิศและรูปแบบภาษาขั้นสูงให้กับลูกๆ เรามอบโอกาสให้พวกเขาได้ฝึกเชื่อมโยงและใช้ความคิด และที่วิเศษสุดก็คือ เราช่วยให้พวกเขาตกหลุมรักการอ่าน เป็นความรักที่จะเอื้อประโยชน์ต่อพวกเขาไปตลอดชีวิต
ครอบครัวอ่านออกเสียง
(The Read-Aloud Family: Making Meaningful and Lasting Connections with Your Kids)
Sarah Mackenzie เขียน
สุนันทา วรรณสินธ์ เบล แปล
เพชรลัดดา แก้วจีน ภาพปก
288 หน้า
325 บาท
อ่านตัวอย่างหนังสือและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://bookscape.co/books/education-and-learning-societies/the-read-aloud-family