ไขปม “ความเหลื่อมล้ำ” ปัญหาเรื้อรังของวงการศึกษาไทยด้วยมุมมองใหม่ผ่านแว่นจิตวิทยา
“ความเหลื่อมล้ำ” มิใช่แค่ปัญหาเชิงเศรษฐกิจ แต่เกี่ยวข้องกับมุมมองเชิงจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง ในสังคมที่เต็มไปด้วยการเปรียบเทียบตัวเองกับคนรอบข้าง นอกจาก “ความยากจน” แล้ว “ความรู้สึกจน” คือบันไดที่แบ่งแยกผู้คนเป็นลำดับชั้น ทั้งในระดับประเทศ ชุมชม หรือกระทั่งในห้องเรียน การแก้ไขปัญหาความยากจนจึงเป็นเพียงศึกครึ่งแรกในการต่อสู้กับปัญหาการศึกษาไทย
bookscape ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชวนร่วมขบคิดผ่านแว่นจิตวิทยาเพื่อรับมือกับศัตรูที่ซ่อนอยู่ในโจทย์ใหญ่ของวงการศึกษาไทยอย่าง “ความรู้สึกจน” มาหาคำตอบว่าปัจจัยใดที่กระตุ้นให้นักเรียนบางกลุ่มรู้สึกเช่นนั้น ความเหลื่อมล้ำส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้และเติบโตของพวกเขาได้อย่างไร และมีทางใดบ้างที่เราจะขจัดความรู้สึกจนไปพร้อมกับความยากจนในระบบการศึกษา
ร่วมพูดคุยเพื่อเปิดมุมมองใหม่สู่หนทางยกระดับบันไดสังคมขั้นล่างสุด ลดระดับบันไดขั้นบนสุด และสร้าง “ความเท่าเทียม” ที่แท้จริงในโรงเรียนไทย กับ
- ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
- เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อิสระ ฮาตะ Youtuber ช่อง Rubsarb และ Subdar7
- ภก. ณภัทร สัตยุตม์ นักวิชาการด้านพฤติกรรมศาสตร์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ชวนเสวนาโดย
- กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการ ‘เช้าทันโลก Move & Motivated’ FM96.5
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2565
เวลา 13.30 – 16.30 น.
